หลัก 3 ประการสร้างพนักงานให้เป็นนักแก้ปัญหา

หลัก 3 ประการสร้างพนักงานให้เป็นนักแก้ปัญหา
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ในบางครั้งก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพนักงานบางคนในบริษัทก็เป็นนักสร้างปัญหาให้เจ้านายคอยแก้ไม่เว้นแต่ละวัน ในขณะที่พนักงานบางคนนั้นเป็นคนที่ทำงานได้ในระดับที่เจ้านายคาดหวัง แต่ก็ไม่ได้เป็นคนที่สามารถแก้ปัญหาหรือเอาตัวรอดจากสถานการณ์ที่คับขันได้ การที่จะทำให้บริษัทเป็นองค์กรที่น่าเชื่อถือ และมีคุณภาพในการทำงานบริษัทต้องไม่ละเลยที่จะฝึกฝนให้พนักงานมีความเป็นนักแก้ปัญหาด้วยตนเอง มากกว่าที่จะคอยรอฟังคำสั่ง หรือรับเอาคำตอบมาปฏิบัติเพียงอย่างเดียว การสร้างให้พนักงานเป็นนักแก้ปัญหาอาจต้องอาศัยหลัก 3 ประการง่าย ๆ ดังนี้

1. ค้นหาเอกลักษณ์ของปัญหาแม้ว่าหลายปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีความใกล้เคียงกันมากเพียงใด แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่าจะใช้การแก้ปัญหาแบบเดียวกันได้กับทุกปัญหา คำตอบเพียงคำตอบเดียวไม่ได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ตอบทุกคำถาม การที่จะฝึกให้พนักงานเป็นนักแก้ปัญหา บริษัทต้องพยายามฝึกให้พนักงานมองและค้นหาเอกลักษณ์ของปัญหานั้นให้แตกต่าง ให้มองว่าในความเหมือนย่อมมีความแตกต่างอยู่เสมอ ความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันของปัญหาเป็นสิ่งที่จะช่วยให้เราคิดแก้ปัญหาได้ไวขึ้น แต่เราไม่สามารถนำความเหมือนนั้นมาใช้ตอบได้ทุกปัญหาการค้นหาเอกลักษณ์ของปัญหาจะช่วยให้เราสามารถพัฒนาการแก้ปัญหาได้ดีขึ้น

2. มองปัญหาให้ใหญ่และไกลกว่าเดิมมองเหตุการณ์และปัญหาให้ใหญ่กว่าเดิม เป็นการกระตุ้นให้สมองเราพยายามคิดแก้ปัญหาให้ซับซ้อนยิ่งขึ้น เพื่อมุ่งหาคำตอบสำหรับปัญหาให้มากกว่าที่เป็นอยู่ ให้เรามองปัญหาให้ใหญ่ขึ้นเพื่อความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาที่มากขึ้นอีกระดับหนึ่ง อีกทั้งยังต้องมองปัญหาให้ไกลกว่าเดิมว่าปัญหาอาจจะไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ แล้วเราจะต้องเตรียมการรับมือนั้นอย่างไร อาจจะคล้ายกับการที่เราเตรียมใจเผื่อไว้ผิดหวังหากผลที่คาดหวังไม่เป็นจริง แต่ในกรณีของการแก้ปัญหา ให้เรามองว่าเมื่อปัญหาไปถึงขั้นนั้นแล้ว เราจะแก้ปัญหาอย่างไร เราต้องให้ความสำคัญกับคำว่า “ถ้า” เพราะมันจะช่วยให้เรารู้จักการเตรียมตัวทุ่มเทกับการแก้ปัญหามากขึ้น

หลักการแก้ปัญหาการทำงาน 3. จัดระบบการแก้ปัญหาการจัดระบบให้กับความคิดไม่เพียงเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกอย่างเป็นไปอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเท่านั้น ยังเป็นการทำให้ความคิดในการแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วย ในการแก้ปัญหาให้เรามองว่าปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาที่ใหญ่กว่าเสมอ การเริ่มต้นที่จะแก้ปัญหาก็เป็นเหมือนการช่วยคลายความความตึงเครียดของอีกปัญหาหนึ่งไปได้ด้วย เมื่อเราแก้ปัญหานี้ได้ทุกอย่างก็จะค่อย ๆ คลี่คลายไปได้เอง บางครั้งเราอาจต้องมองข้ามวิธีการแก้ปัญหาที่อาศัยข้อมูลจำนวนมาก เพราะนั่นไม่ได้ทำให้เราเกิดความคิดที่จะแก้ปัญหา เพราะเมื่อคิดจะแก้ปัญหาครั้งใด ก็หันไปมองแต่วิธีแก้ปัญหาแบบเก่า ๆ ไม่เคยคิดที่จะมองหาวิธีการแบบใหม่ อาจจะทำให้ทักษะในการเป็นนักแก้ปัญหาของเราหยุดนิ่ง แน่นอนว่าความสำเร็จของการเป็นนักแก้ปัญหาจะเกิดขึ้นได้จริงนั้น ต้องอาศัยกระบวนการการกระตุ้นให้พนักงานได้ฝึกคิดและทดลองแก้ปัญหาอย่างสม่ำเสมอ ให้พนักงานมุ่งความสนใจไปยังเป้าหมายของการแก้ปัญหา และคาดหวังให้เห็นผลสำเร็จของการแก้ปัญหานั้น เท่านี้ความคาดหวังที่จะได้พนักงานที่มีคุณภาพและน่าไว้วางใจก็ไม่น่าจะไกลกว่าที่คาดการณ์ไว้

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด