คุณกำลังเสี่ยงเป็นโรค MS หรือเปล่า

คุณกำลังเสี่ยงเป็นโรค MS หรือเปล่า
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

สารพัดโรคออฟฟิศซินโดรม ทั้งปวดหลัง ปวดไหล่ อาหารไม่ย่อย นอนไม่พอ กำลังทวีความรุนแรงให้เกิดโรคแปลกๆ ใหม่ทุกวัน อย่างโรค MS โรคที่รุนแรงสำหรับคนวัยทำงานเช่นคุณ!!!

โรคมัลติเพิล สเคลอโรซีส (Multiple Sclerosis) หรือ เอ็มเอส (MS) เป็นกลุ่มอาการของโรคทางระบบประสาทส่วนกลาง ที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในคนหนุ่มสาววัยทำงาน และผู้หญิงมีโอกาสเป็นมากที่สุด

แพทย์ระบุว่าโรคนี้เกิดจากการนำสัญญาณของเส้นประสาทจากสมองส่วนต่างๆ ของร่างกายได้เสียไป ซึ่งมีสาเหตุจากปลอกหุ้มเส้นประสาท (myelin) ภายในระบบประสาทส่วนกลางได้รับความเสียหาย หรือถูกทำลาย แม้ว่าเซลล์ของระบบประสาทส่วนกลางจะซ่อมแซม และทดแทนความเสียหายของปลอกหุ้มประสาทได้บ้างหลังจากเกิดอาการของโรคเอ็มเอสแต่ละครั้ง แต่ก็มีขีดจำกัดและยังคงเหลือร่องรอยแผลเป็น (scars) ไว้ตรงบริเวณที่ปลอกหุ้มประสาทนั้น ทำให้ประสิทธิภาพในการนำสัญญาณของเส้นประสาทลดลง ยิ่งจำนวนแผลเป็นเพิ่มขึ้นจะทำให้อาการของโรคเกิดแบบถาวรยิ่งขึ้น เมื่อมีการสูญเสียเซลล์ถึงระดับหนึ่งสมองจะไม่สามารถชดเชยได้ ทำให้ผู้ป่วยโรคเอ็มเอสมีการเคลื่อนไหวและการประสานงานของร่างกายเสียไป โดยมีอาการหลักๆ คือ

  • โรคของคนทำงานเหนื่อยล้าระหว่างการทำงาน แขนขาเมื่อยล้าไม่มีแรง
  • บกพร่องทางการขับถ่ายหนักเบาเช่น กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปัญหาการควบคุมอารมณ์และการรับรู้ สูญเสียความจำระยะสั้น
  • ไม่สามารถควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ การเกร็งสั่นกล้ามเนื้อและเดินผิดปกติ
  • ปัญหาการมองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว เส้นประสาทตาอักเสบ วิงเวียนและมึนงงง่าย
  • การพูดผิดปกติและการกลืนลำบาก
  • มีอาการชาและปวดกล้ามเนื้อ เกิดอาการชักเป็นครั้งคราว
  • ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์

ระยะเวลาของโรคเอ็มเอสไม่สามารถบอกได้ล่วงหน้า ทั้งนี้เนื่องจากไม่อาจบอกได้ถึงธรรมชาติของโรค ความรุนแรงที่จะเกิดขึ้น ตลอดจนช่วงเวลาที่โรคจะรุดหน้าไป อย่างไรก็ตาม พอที่จะจำแนกโรคตามรูปแบบและความถี่ของอาการได้ดังนี้

  1. โรคเอ็มเอสชนิดที่เป็นๆ หาย ๆ (Relapsing – Remitting MS หรือ RRMS)
  2. โรคเอ็มเอสแบบที่อาการค่อยรุดหน้าในภายหลัง (Secondary Progressive MS หรือ SPMS)
  3. โรคเอ็มเอสแบบที่มีอาการค่อยๆ รุดหน้าตั้งแต่เริ่ม (Primary Progressive MS หรือ PPMS)
  4. โรคเอ็มเอสระยะเริ่มแรก (Benign MS)

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีใดในการรักษาโรคเอ็มเอสให้หายขาดได้ มีเพียงชะลอการรุดหน้าของโรค และทุเลาอาการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งระยะเวลาการรุดหน้าของการเป็นโรคเอ็มเอสนั้นไม่แน่นอนขึ้นกับแต่ละคน หรือแม้แต่ในคนเดียวกันก็ไม่อาจจะคาดการณ์ได้

การรักษาโรค มัลติเพิล สเคลอโรซีสเบื้องต้น

แพทย์แนะนำว่าควรกินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้มาก โดยเน้นพวกวิตามินและกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว เช่น

  • โรคของคนทำงานวิตามินดีเป็นสิ่งจำเป็นต่อการพัฒนาระบบประสาท และเนื้อเยื่อประสาทที่ถูกสร้าง จะช่วยระงับอาการได้และทำให้ขั้นตอนของโรคช้าลงหรือหยุดลงได้ในที่สุด
  • วิตามิน บี12ใช้ในการเพิ่มความสามารถในการยืนและเดิน
  • น้ำมันจากเมล็ดพืชโดยเฉพาะอย่างยิ่งดอกคำฝอย ดอกทานตะวัน ข้าวโพด ถั่วเหลือง และพริมโรส (ทั้งหมดนี้มีกรดไลโนเลนิคอยู่มาก) เป็นแหล่งของกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงสมองและไขสันหลังให้มีสุขภาพดี
  • รับประทานอาหารที่ไม่ผ่านการขัดสีและมีกากใยมากๆ
  • การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยน้ำมันจากเมล็ดพืชปลา ผัก ผลไม้ พืช ทั้งเมล็ด และการเสริมไวตามินและเกลือแร่
  • ดื่มน้ำบริสุทธิ์ให้มากเพียงพอ ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้
  • จำกัดการรับประทานไขมันอิ่มตัว น้ำตาลทราย และอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิต
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่จะมำให้แพ้ได้แก่ ข้าวสาลี
  • พักผ่อนให้เพียงพอและการออกกำลังกาย เพราะช่วยขจัดความเหนื่อยอ่อน
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
  • รับประทานขนมปังที่ทำจากเมล็ดพืชทั้งเมล็ด และซีเรียล และให้รับประทานวีทเจอม หรือวิตามินอี เพื่อช่วยไม่ให้กรดไขมันอิ่มตัวเกิดการรวมตัวกับออกซิเจนภายในร่างกาย

หากคุณมีอาการโรค MS นี้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการรักษา ก่อนที่อาการจะรุนแรง และส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตประจำวันของคุณต่อไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

-นิตยสารคลีโอ ฉบับมกราคม 2555

- Stem cell for life

- Ms thai community

- อาจารย์ ดร. ศุภลักษณ์ เข็มทอง สาขากิจกรรมบำบัด คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กรดไหลย้อน โรคฮิตหนุ่มสาวออฟฟิศกลุ่มเสี่ยง

"หม่ำมื้อกลางวันที่โต๊ะ" อาจไม่โตในหน้าที่การงาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด