เลิกตกใจในเวลาที่ไม่คาดฝัน เตรียมพร้อมชีวิตให้มั่นด้วย “เงินออมฉุกเฉิน“

เลิกตกใจในเวลาที่ไม่คาดฝัน เตรียมพร้อมชีวิตให้มั่นด้วย “เงินออมฉุกเฉิน“
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ตั้งแต่การแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19 ทำให้หลายคนพบกับความไม่แน่นอนของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบเรื่องงาน ที่ไม่รู้ว่าจะตกงานวันไหน รัฐบาลจะประกาศเคอร์ฟิว ปิดเมือง ปิดประเทศอีกเมื่อไหร่ หลายคนต้องมีรายได้ลดลงกะทันหัน หรือไม่รู้ว่าตัวเองจะติดโควิดเมื่อไหร่ และถ้าติดแล้วจะเอาเงินตรงไหนมารักษา ทุกคนจริงควรหันมาใส่ใจเรื่องเงิน เพื่อบริหารความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในชีวิต แก้ไขปัญหาเงินขาดมือในเวลาที่ต้องใช้ ลดความเครียดเรื่องไม่มีเงินเมื่อเจอวิกฤต ด้วย “เงินออมฉุกเฉิน”

เลิกตกใจในเวลาที่ไม่คาดฝัน เตรียมพร้อมชีวิตให้มั่นด้วย “เงินออมฉุกเฉิน“

เงินออมฉุกเฉินหรือเงินสำรองฉุกเฉินคือ เงินเก็บสำรองที่สามารถนำออกมาใช้จ่ายได้อย่างง่ายดายเมื่อมีเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้น บางคนนิยมเก็บในรูปแบบการฝากเงินในบัญชีออมทรัพย์ เพื่อให้ไม่ต้องตัดสินใจยากเมื่อต้องนำออกมาใช้ เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น ตกงาน เจ็บป่วยกะทันหัน หรือสถานการณ์ที่ต้องใช้เงินอย่างเร่งด่วนแบบไม่คาดคิดมาก่อน ถ้ามีเงินฉุกเฉินก้อนนี้ก็จะช่วยให้ไม่ต้องไปกู้หนี้ ยืมสิน หรือกระทบต่อแผนการเงินในชีวิตอื่น ๆ ได้

วิธีการคำนวณเงินออมฉุกเฉินแบบที่ง่ายที่สุด คือ เงินก้อนนี้ควรมีไม่น้อยกว่า 4-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน ซึ่งค่าใช้จ่ายนี้คิดจากรายจ่ายที่จำเป็นแต่ละเดือน เช่น ค่าอาหาร ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ รวมกับภาระหนี้ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ หนีบัตรเครดิต เพื่อที่ถ้าต้องตกงาน ทำงานไม่ได้ หรือมีเหตุให้ขาดรายได้ จะได้นำเงินส่วนนี้มาใช้ดำรงชีวิต วางแผนได้ว่าจะสามารถมีเวลาหางานกี่เดือน จนกว่าเงินเก็บสำรองก่อนนี้จะหมด

ตัวอย่างการคำนวณเงินออมฉุกเฉิน

ค่าใช้จ่ายจำเป็นรวมภาระหนี้ที่ต้องผ่อนต่อเดือน เป็นเงิน 12,000 บาท ก็ควรมีเงินออมฉุกเฉินอยู่ที่ 48,000 – 72,000 บาท เป็นอย่างน้อย เพื่อให้อุ่นใจ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ยังไม่มีเงินออมฉุกเฉินก้อนนี้ และอยากเริ่มเก็บเงินสำรอง เพราะรับรู้ได้ถึงความไม่แน่นอนในชีวิต ก็สามารถเริ่มได้ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • หักเงินไว้เป็นเงินออมฉุกเฉินทุกเดือน

เริ่มจากการหักเงิน 5 – 10% ทุกครั้งทันทีที่ได้รับเงินเดือนหรือมีรายได้เข้ามา เช่น เงินเดือนประจำ 15,000 บาท หัก 5% = 750 หัก 10% = 1,500 บาท แม้ว่าต่อเดือนอาจจะดูเป็นจำนวนไม่เยอะ แต่ถ้าลองรวมให้ได้ 10 เดือน ก็จะได้ 7,500 บาท หรือ 15,000 บาทแล้ว และถ้าเก็บไปเรื่อย ๆ ก็จะกลายเป็นเงินก้อนที่สามารถพึงพาได้เลยทีเดียว

  • เก็บแยกออกจากเงินส่วนอื่น ๆ และเก็บในที่ที่เอามาใช้ยากกว่าปกติ

สมัครบัญชีเพื่อเงินออมฉุกเฉินโดยเฉพาะ ไม่ต้องนำไปรวมกับเงินอื่น ๆ รวมถึงเพิ่มอุปสรรคในการใช้เงินก้อนนี้ด้วยการเก็บเงินในบัญชีที่ไม่มีบัตรเอทีเอ็ม ไม่ผูกกับ Internet banking หรือจะลองฝากเงินก้อนนี้เป็นชื่อแม่ดูก็ได้ จะได้รู้สึกว่ายากเมื่อต้องถอนเงินก้อนนี้ออกแต่ละที

  • ห้ามยุ่งกับเงินก้อนนี้เด็ดขาด

ตั้งเป้าหมายให้ชัดว่าเงินก้อนนี้จะถูกเอาออกมาใช้เมื่อฉุกเฉินเท่านั้น กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ เพื่อให้รู้ว่าจะเอาเงินก้อนนี้ออกมาใช้ได้ในกรณีไหนบ้าง ทำให้ชัดเจน ตั้งใจให้แน่วแน่ และคุมจิตใจตัวเองให้ได้

  • เติมเงินให้เต็มทุกครั้ง หลังเอาเงินก้อนนี้ออกมาใช้

ถ้ามีเหตุให้ใช้เงินออมฉุกเฉินก้อนนี้ไปแล้ว ก็จะต้องหาเงินมาโปะคืนเงินก้อนนี้ให้เท่ากับจำนวนเงินเดิมที่ได้กำหนดไว้ทุกครั้ง เพื่อให้เงินนี้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ

เงินออมฉุกเฉิน เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือทางการเงิน ที่จะช่วยให้คุณรอดพ้นจากวิกฤตทางการเงิน และเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นได้เสมอในชีวิต เป็นการสร้างวินัยทางการเงินที่ดี สะท้อนการบริหารการเงินสู่การบริหารชีวิต ไม่ต้องกังวล ตกใจ หรือเครียดเรื่องเงิน จนพาลให้เสียสุขภาพกาย สุขภาพจิต และเป็นอีกหนึ่งทางรอด ที่จะช่วยให้คุณมีชีวิตที่ลำบากน้อยลง มีแรงต่อสู้กับวิกฤตต่าง ๆ ที่ถาโถมเข้ามาได้

มองหาโอกาสใหม่ ๆ มองหางานรายได้มั่นคง หรืองานเสริมเพิ่มรายรับ มาค้นหาตำแหน่งงาน หรือฝากเรซูเม่ของคุณได้ง่าย ๆ ผ่านแอปพลิเคชัน JobsDB แอปหางานที่ทำให้คุณหางานที่ใช่ สร้างโพรไฟล์สมัครงานส่วนตัว ได้จบ ครบ ในแอปเดียว ทำให้เรื่องหางานเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%b3%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b9%80%e0%b8%a5%e0%b8%b5%e0%b9%89%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b5%e0%b8%9e-provident-fund-vs/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%a1%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b8%b5%e0%b9%89/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%81%e0%b8%ab%e0%b9%88%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%95%e0%b8%b4/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%97%e0%b8%b8%e0%b8%99%e0%b8%aa%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%aa%e0%b8%94%e0%b8%b4%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด