เขียนจดหมายสมัครงานอย่างไรให้เข้าตา

เขียนจดหมายสมัครงานอย่างไรให้เข้าตา
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

จดหมายสมัครงานคือว่าเป็นเหมือนกับประตูบานแรก ในนำพาเราไปสู่งานในฝัน บริษัทที่ชอบ เงินเดือนที่ใช่ เพราะเป็นจุดคัดกรองแรก สำหรับฝ่ายทรัพยากรบุคคลและนายจ้าง ในการตามหาคนที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่ประกาศ

เขียนจดหมายสมัครงาน

แต่หลาย ๆ คนมักจะมองข้ามจดหมายในการสมัครงาน ทำให้ต้องพลาดโอกาสในการได้ตำแหน่งงานที่ดีไปอย่างน่าเสียดาย วันนี้เราจะมาแนะนำวิธีในการเขียนจดหมายในการสมัครงานให้เข้าตานายจ้าง เพิ่มโอกาสในการทำงานมากขึ้น

จดหมายสมัครงานที่ดีต้องไม่ยาวเกินไป

ประเด็นแรกสำหรับการเขียนจดหมายสมัครงานคือ ไม่ควรจะมีความยาวมากเกินไป เพราะฝ่ายทรัพยากรบุคคลรวมไปถึงนายจ้างไม่ได้มีเวลาในการอ่านจดหมายมากขนาดนั้น เราจึงไม่ควรที่จะเขียนจดหมายในการสมัครงานที่ยาวเกินไป 3-5 ย่อหน้ากำลังดี โดยที่ใช้ระยะเวลาในการอ่านไม่ควรเกิน 5 นาที

ในขณะเดียวกันก็ไม่ควรเขียนสั้นจนอ่านไม่ได้ใจความ เช่นการเขียนเพียง 1-2 พารากราฟหรือย่อหน้า เพราะจะทำให้นายจ้างหรือแผนกทรัพยากรบุคคลนั้น ไม่มีข้อมูลที่เพียงพอในการตัดสินใจที่จะนัดคุณเพื่อสัมภาษณ์งาน

ปรับจดหมายสมัครงานให้เหมาะกับตำแหน่งและบริษัทที่เราสมัครงาน

ปัจจุบันแม้ว่าเราจะมีตัวอย่างรวมไปถึง template สำหรับการเขียนจดหมายสมัครงานมากมายในอินเทอร์เน็ต แต่ว่าเราไม่ควรที่จะก็อปมาหรือเขียนตามแบบเป๊ะ ๆ แต่ควรจะมีการปรับให้เหมาะสมกับตำแหน่งและบริษัทที่เราสมัคร

เพราะการที่เราเขียนตาม template อาจจะทำให้สำนวนภาษารวมถึงสิ่งที่อยากสื่อกับนายจ้างของเรา เหมือนกันกับผู้สมัครคนอื่น ทำให้ไม่เห็นถึงความแตกต่างหรือความโดดเด่นในการสมัครงานของเรา รวมถึงเป็นการแสดงถึงความใส่ใจต่อการสมัครงานครั้งนี้ของเราด้วย อีกทั้งยังเป็นการดูถูกความสามารถของตัวเราเองด้วย

นอกจากนี้เราควรที่จะทำให้จดหมายสมัครงานของเราอ่านได้ง่าย โดยอาจจะมีการให้ Bullet หรือ bold ในการเน้นคำบางคำ เพื่อให้นายจ้างสามารถที่จะอ่านจดหมายของเราได้ง่ายอีกด้วย

เนื้อหาที่ควรมีในการเขียนจดหมายสมัครงาน

เนื้อหาในการเขียนจดหมายสมัครงานเป็นสิ่งที่เราควรให้ความสำคัญทุกครั้ง เพราะว่าเป็นข้อความแรกที่ทางนายจ้างหรือฝ่ายทรัพยากรบุคคลจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวตนของเราเบื้องต้น โดยแบ่งเป็นหัวข้อดังต่อไปนี้

ทำไมตัวเราถึงเหมาะกับตำแหน่งนี้

เนื้อหาส่วนแรกในการเขียนจดหมายสมัครงานคือ การที่เขียนบอกกับนายจ้างว่า ทำไมเราถึงเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ โดยเราสามารถดูได้ในคุณสมบัติของการรับสมัครว่ามีอะไรบ้าง โดยให้บอกว่าเรามีจุดเด่นอะไรที่เข้าได้กับตำแหน่งนี้ มีทักษะอะไรบ้างที่ตรงตามคุณสมบัติของการรับสมัคร จะทำให้นายจ้างของเราเข้าใจได้ง่ายขึ้นว่าเราเหมาะกับตำแหน่งนี้หรือไม่

ประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา

ส่วนที่สองที่ควรมีในการเขียนจดหมายสมัครงานที่ดีคือ ประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมาว่า เข้ากันได้กับตำแหน่งที่เราสมัครหรือไม่ เราควรจะบอกประวัติการทำงานคร่าว ๆ ว่าเราทำงานด้านนี้มากี่ปี เกี่ยวข้องกับตำแหน่งนี้หรือไม่ จะทำให้นายจ้างหรือฝ่ายทรัพยาการบุคคลของบริษัทนั้น ๆ ได้รู้จักประวัติหรือ background ของเราแบบคร่าว ๆ ยิ่งประวัติการทำงานตรงกับตำแหน่งที่สมัคร ยิ่งทำให้นายจ้างอยากที่นัดเราสัมภาษณ์มากขึ้น

แสดงให้เห็นความกระตือรือร้นในการสมัครงาน

ส่วนนี้ก็สำคัญไม่แพ้สองส่วนแรกกล่าวคือ การเขียนแสดงให้นายจ้างและฝ่ายทรัพยากรบุคคลเห็นว่าทำไมเราถึงอยากทำงานที่นี่ ทำไมต้องทำตำแหน่งนี้ โดยอาจจะกล่าวถึงสิ่งที่คุณอยากจะทำในอนาคตหรือบอกว่าหากจ้างคุณแล้วบริษัทจะได้อะไร ซึ่งจะทำให้เมื่ออ่านแล้ว นายจ้างจะรับรู้ถึงความตั้งใจจริงในการสมัครงานครั้งนี้ และเพิ่มโอกาสในการเรียกสัมภาษณ์มากขึ้นอีกด้วย

คำผิดห้ามมีในจดหมาย

ในการเขียนจดหมายสมัครงานทุกครั้งควรที่จะมีการตรวจเช็คคำผิดให้ดี เพราะการที่มีคำผิดในจดหมายสมัครงานอาจจะหมายถึงการที่เราไม่มีความใส่ใจในการสมัครงานครั้งนี้ ดังนั้นก่อนที่จะกดส่งจดหมายทุกครั้งเราควรจะมีการตรวจทานคำผิดให้ดีก่อนส่ง

นอกจากนี้ยังรวมถึงข้อมูลในการติดต่อของเรา ไม่ควรจะมีคำผิดแม้แต่นิดเดียว ไม่ว่าจะเป็นเบอร์มือถือ อีเมล ที่อยู่ เพราะหากเราเขียนข้อมูลผิดอาจจะมีผลในเรื่องของการติดต่อกลับอีกด้วย

อย่าลืมแนบลิงค์ผลงาน

นอกจาก Resume ที่ควรแนบไปพร้อมกับจดหมายสมัครงานแล้ว เราควรที่จะมีการแนบลิงค์ผลงานของเราไปด้วย เพื่อให้นายจ้างหรือแผนกทรัพยากรบุคคลสามารถที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับตัวคุณได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการพิสูจน์ด้วยว่าสิ่งที่คุณกล่าวในจดหมายสมัครงานเป็นเรื่องจริงหรือไม่

อีกหนึ่งคำแนะนำเพิ่มเติมคือ หากลิงค์ที่เราแนบมานั้นยาวเกินไป เราอาจจะให้วิธีการย่อลิงค์ เพื่อให้จดหมายสมัครงานของเราเป็นระเบียบและอ่านได้ง่ายอีกด้วย

เคล็ดลับเพิ่มเติมในการเขียนดจดหมายสมัครงาน

  • ควรใช้สำนวนหรือถ้อยคำที่แสดงให้เห็นถึงความสุภาพ ไม่ควรที่จะภาษาที่ไม่เป็นทางการหรือกึ่งทางการ
  • รูปแบบตัวอักษรมาตรฐานคือ Time New Roman หรือ Arial และควรที่จะใช้ตัวอักษรรูปแบบเดียวกันทั้งจดหมาย
  • ในเนื้อหาอาจจะมีการกล่าวถึงองค์กรที่สมัครเล็กน้อย เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าคุณทำการบ้านมาก่อน แสดงให้เห็นถึงความใส่ใจในการสมัครงาน
  • ควรจะเขียนเนื้อหาต่างจาก Resume เพราะว่าจดหมายสมัครงานมีความยาวที่สั้น ทำให้ไม่สามารถอธิบายได้ยาวเหมือนกับใน Resume ควรเน้นกระชับไว้ก่อน
  • อย่าลืมเช็คระยะเวลาในการรับสมัครว่าหมดเขตหรือยัง เพราะหากหมดเขตหรือเลยช่วงกำหนดการประกาศรับสมัครงานไปแล้ว ไม่ควรที่จะส่งไป

สรุปท้ายบทความ

การเขียนจดหมายสมัครงานอย่างไรให้เข้าตานั้น ประกอบไปด้วยหลัก ๆ คือ จดหมายไม่ควรจะมีความยาวมากจนเกินไป ควรใช้เวลาในการอ่านไม่นานแต่มีเนื้อหาครบถ้วนคือ ทำไมเราเหมาะสมกับตำแหน่งนี้ ประสบการณ์ในการทำงานที่ผ่านมา ความกระตือรือร้นในการสมัครงาน นอกจากนี้ควรที่จะมีการตรวจเช็คคำผิดให้ถูกต้อง และแนบไฟล์ที่เป็นผลงานของเราในทุกครั้งก่อนที่จะส่งงาน เพื่อให้นายจ้างสามารถเข้าถึงตัวเราได้ง่ายขึ้นและเพิ่มโอกาสในการสัมภาษณ์งานในอนาคต

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิธีการเขียน Cover Letter ให้ได้รับพิจารณาสัมภาษณ์งาน

เคล็ดลับในการเขียนจดหมายสมัครงาน

ตัวอย่างการเขียนจดหมายสมัครงาน

More from this category: Cover letters

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด