นี่ออฟฟิศหรือตลาดสด! วิธีหยุดคนพูดมากในที่ทำงานแบบเนียน ๆ

นี่ออฟฟิศหรือตลาดสด! วิธีหยุดคนพูดมากในที่ทำงานแบบเนียน ๆ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

นี่ออฟฟิศหรือตลาดสด! วิธีหยุดคนพูดมากในที่ทำงานแบบเนียนๆ

ในที่ทำงานถือเป็นสถานที่ที่มีคนรวมกันตัวอยู่มากๆ สังคมหนึ่ง แน่นอนว่าก็ต้องมีคนหลากประเภทหลายนิสัยปะปนกันไปอยู่แล้ว หากเจอคนรอบข้างเป็นคนนิสัยดี ก็ถือว่าโชคดีไป แต่ถ้าหากโชคร้ายเจอมนุษย์ประเภท Toxic ก็อาจจะต้องเหนื่อยหน่อย เพราะลำพังแค่จำนวนงานที่รัดตัวในแต่ละวัน ก็ทำให้เหนื่อยพออยู่แล้ว

ซึ่งบุคคล Toxic จำพวกหนึ่ง ที่เราสามารถเจอได้ทุกที่ รวมไปถึงในออฟฟิศ ก็คนจำพวกช่างเม้าท์ พูดมาก เสียงดัง ขี้นินทานี่แหละ บางคนเม้าท์เสียงดังจนทำให้เราขาดสมาธิได้การทำงานได้เหมือนกัน ครั้นจะเผชิญหน้าพูดไปแบบตรงๆ ก็อาจกลายปัญหาบานปลาย ลามไปถึงขั้นทะเลาะกันได้อีก แต่ก็อย่าเพิ่งกังวลใจ เพราะอย่างไรเสียทุกปัญหาย่อมมีทางออกเสมอ เพราะฉะนั้นบทความนี้ เราเลยจะมาแนะนำวิธีรับมือกับมนุษย์พูดมากประจำออฟฟิศกัน ว่าควรทำยังไงดี

เพื่อนร่วมงานคือคนที่เราอยู่ด้วยนานที่สุด

ปฏิเสธไม่ได้ว่าในเวลาชีวิตของมนุษย์เงินเดือน พวกเขาต้องใช้เวลาอยู่กับเพื่อนร่วมงานในออฟฟิศมากที่สุดที่อยู่แล้ว เพราะทำงาน 5 วัน/สัปดาห์ วันละ 8 ชั่วโมง กว่าจะเลิกงานได้กลับไปพบปะเพื่อนฝูงหรือคนในครอบครัว ก็ปาไปช่วงเย็นแล้ว แต่หากบรรยากาศในที่ทำงานกลับเป็นพิษ เพราะต้องอยู่ในดงของเพื่อนร่วมงานไม่น่ารัก เม้าท์มอยกันเสียงดังกันมากกว่าจะนั่งทำงาน จนกลายเป็นการรบกวนเพื่อนร่วมงานคนอื่น ทำให้เสียสมาธิในการทำงาน และอาจลามไปถึงขั้นสภาวะ Burn Out ได้เช่นกัน ดังนั้นถือจึงถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ต้องเร่งรีบแก้ไข

วิธีหยุดคนพูดมากในออฟฟิศแบบเนียนๆ

1. นิ่งเสียตำลึงทอง

แน่นอนว่าทุกปัญหาควรเริ่มต้นแก้ด้วยตัวเราเองก่อนเสมอ ดังนั้นวิธีแรกที่อยากแนะนำอาจจะเป็นวิธีที่ดูจะโลกสวยและยากไปเสียหน่อย แต่ลองทำดูก่อนก็ไม่เสียหาย คือคุณอาจจะต้องลองอิกนอร์หรือทำเป็นเพิกเฉยต่อการกระทำของพวกเขาไปเลย ทำเหมือนว่าพวกเขาเป็นอากาศไม่มีตัวตนอยู่ในออฟฟิศ แม้ว่าเสียงเม้าท์ของพวกเขาจะดังแค่ไหนก็ตาม แต่หากลองปล่อยวาง จนสุดท้ายกลายเป็นความเคยชิน บางครั้งการเจอหรือทนกับอะไรเดิมๆ ทุกวันเป็นเวลานี้ ก็อาจกลายเป็นความปลงและเคยชินในที่สุด

2. เปิดใจฟัง

ถ้าเสียงเม้าท์รบกวนคุณจะขาดสมาธิแบบไม่ไหวแล้ว ลองตั้งใจฟังดูสักครั้งว่าพวกเขาคุยเรื่องอะไรกันอยู่ พยายามคิดว่าคุณไม่ได้ยากจะยุ่งเรื่องคนอื่นนะ แต่เสียงของพวกเขาดังเกิน จนทำให้คุณต้องได้ยินสิ่งที่พวกเขาคุยกันเอง ถ้าเรื่องที่พวกเขาคุยกันเป็นเรื่องนินทาคนอื่น ก็ไม่ควรไปแจมด้วยเด็ดขาด แต่ถ้าเป็นเรื่องสัพเพเหระทั่วไป เช่น เรื่องท่องเที่ยว, ดินฟ้าอากาศ, ข่าวบันเทิงเม้าท์ดารา, ช้อปปิ้ง หรือเรื่องที่คุณพอจะมีประสบการณ์ร่วมด้วย ก็อาจรับฟังไว้และเข้าไปคุยแบบพอหอมปากหอมคอ

จากนั้นลองตบท้ายด้วยประโยคแบบเนียนๆ ว่า ไว้คุยกันต่อพรุ่งนี้นะ ขอไปปั่นงานต่อก่อน ตอนนี้งานแน่นมาก นั่นก็ถือเป็นการบอกทางอ้อมว่าคุณต้องใช้สมาธิทำงานนะ แถมยังทำให้ไม่เสียน้ำใจต่อกันอีกด้วย อีกทั้งนี่ยังเป็นการช่วยให้คุณได้เก็บข้อมูลไปในตัว เพราะจะทำให้คุณได้รู้ว่าเพื่อนคนไหนที่น่าคบ หรือเพื่อนคนไหนควรต้องอยู่ห่างไว้

3. เปลี่ยนเรื่องคุย

แต่ถ้าลองเปิดใจฟังแล้ว สิ่งที่พวกเขาเม้าท์มอยกันเป็นเรื่องที่หาสาระอะไรแทบไม่ได้เลย ก็ต้องลองมาทำวิธีที่จริงจังขึ้นอีกหนึ่งสเต็ป โดยอาจหาทางเปลี่ยนเรื่องคุยไปเลย หรืออาจลองเปลี่ยนหัวข้อสนทนาใหม่ไปแบบดื้อๆ แล้วเน้นเป็นเรื่องที่จริงจังและซีเรียสมากขึ้น หรือเป็นเรื่องที่ไกลตัวพวกเขาไปเลย เพราะจะทำให้พวกเขาไม่รู้ว่าจะต่อบทสนทนานี้หรือมีส่วนร่วมในวงได้อย่างไร เมื่อการคุยดันไม่สนุกอย่างที่พวกเขาหวัง บทสนทนาก็จะสะดุดไปโดยอัตโนมัติ ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ใช้จบการสนทนาแบบอ้อมๆ โดยไม่ต้องหักหน้ากัน

4. ใส่หูฟัง

นี่ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีการแก้ปัญหาที่ตัวเองและหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าได้ดีอีกแบบหนึ่ง หากคุณไม่อยากต่อความยาวสาวความยืด หรือเบื่อที่จะร่วมวงสนทนาที่มีแต่เรื่องไร้สาระ ลองใช้เวลาอยู่กับตัวเองแทน ด้วยการใส่หูฟังแล้วเปิดเพลงให้กลบเสียงเม้าท์ที่แสบแก้วหู วิธีจะเป็นการช่วยให้มีสมาธิได้การทำงานมากขึ้น แถมเสียงเพลงยังสามารถเป็นตัวช่วยบรรเทาความหงุดหงิดใจจากเพื่อนร่วมงานน่ารำคาญ รวมไปถึงงานอันแสนยุ่งเหยิงได้อีกด้วย

แต่วิธีอาจนี้มีข้อเสียตรงที่ว่า มันอาจทำให้คุณจดจ่ออยู่กับหน้าจอคอมและเสียงเพลงมากเกินไป เมื่อคุณหลุดเข้าไปอยู่ในโลกของตัวเอง ก็อาจทำให้พลาดสิ่งสำคัญรอบข้างได้ เช่นเมื่อมีหัวหน้าเรียกให้คุณไปอัปเดตงาน หรือมีคนอื่นมาติดต่องานคุณ ก็จะทำให้คุณไม่ได้ยินหรือมองไม่เห็นพวกเขาได้

5. หามุมอื่นนั่งทำงาน

ออฟฟิศในยุคใหม่นี้มีการปรับตัวมากขึ้น เพื่อให้พนักงานได้ชีวิตแบบ Work Life Balance หรือมีการรีแลกซ์มากขึ้น บางที่อนุญาตให้พนักงานสามารถเปลี่ยนอิริยาบถในการไปนั่งทำงานตามมุมต่างๆ ของออฟฟิศได้อย่างอิสระเสรี เช่น มุมพักผ่อน หรือ บริเวณแคนทีน เป็นต้น แล้วหากออฟฟิศคุณเป็นสไตล์นี้แล้วล่ะก็ ได้เวลาที่คุณจะนำจุดนี้มาสร้างประโยชน์ให้แก่ตัวเองแล้วล่ะ

นั่นก็คือถ้าเจอแก๊งเม้าท์มอยลำโพงแตกเมื่อไร ให้ยกโน้ตบุคไปหามุมนั่งทำงานใหม่โดยพลัน ก็จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงจากความน่ารำคาญเหล่านี้ได้อย่างเต็มที่ แถมยังช่วยให้คุณได้เปลี่ยนอิริยาบถระหว่างไว้ ทำให้สามารถรีแลกซ์จากงานอันน่าเบื่อไปได้ในตัว แต่ข้อเสียก็จะมีคล้ายๆ กับข้อที่แล้ว ก็คือหากหัวหน้าหรือคนที่ต้องการติดต่องานด่วนคุณ แล้วเดินมาหาที่โต๊ะทำงานกลับไปเจอคุณ ก็อาจทำให้งานนั้นล่าช้าลงไปด้วย หรือไม่เช่นนั้นอาจแจ้งหัวหน้าไว้สักนิด ว่าจะเปลี่ยนมุมทำงานชั่วคราว

6. เตือนด้วยตัวเอง

วิธีนี้เหมาะกับสายไฟท์โดยแท้ทรู เพราะบางทีความโลกสวยก็ไม่ช่วยอะไร ใช้ความกล้าในตัวคุณให้เกิดประโยชน์ ลองตัดสินใจเตือนพวกเขาด้วยตัวเองเลย แต่การเตือนนั้นต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของคำพูดที่สุภาพและอย่าใช้อารมณ์โดยเด็ดขาด ทั้งๆ ที่ในใจคุณอยากจะระเบิดใส่พวกเขาแค่ไหนก็ตาม ต้องอดทนอดกลั้นเอาไว้ให้มากที่สุด ท่องเอาว่าโกรธคือโง่ โมโหคือบ้า เพื่อเป็นรักษาภาพพจน์ที่ดีของคุณในออฟฟิศไว้

จากนั้นให้ลองนำเหตุผลอื่นมาเสริมประกอบการเตือนด้วย เช่น ลองพวกบอกเขาไปว่าตอนนี้งานล้นมาก แล้วเดตไลน์ใกล้เข้ามาแล้ว ต้องใช้สมาธิในการทำงานนี้ให้เสร็จทันเวลา หรืออาจบอกว่ามีงานด่วนเข้ามา ต้องทำให้เสร็จภายในวันนี้ รบกวนช่วยเบาเสียงลงหน่อย ส่วนอีกหนึ่งวิธีที่น่าจะได้ดีนัก ก็คือลองบอกว่าเดี๋ยวคุณจะต้องมีประชุมวิดีโอคอลหรือต้องมีการคุยโทรศัพท์กับลูกค้า ต้องการความเงียบในที่ทำงาน เพราะมิฉะนั้นเสียงอื่นๆ อาจดังไปถึงในสายจนลูกค้าได้ยินได้ อย่างไรเสียถ้าพวกเขาคิดได้บ้าง ก็น่าจะเงียบๆ ลงกันบ้างล่ะ

7. ให้หัวหน้าออกโรง

แต่ถ้าสุดท้ายแล้ว ลงมือเตือนด้วยตัวเองแล้วยังไม่เป็นผล เรื่องนี้ก็คงต้องถึงหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลแล้วล่ะ เพราะด้วยสถานะแล้ว หัวหน้ากับฝ่ายบุคคลถือไพ่เหนือกว่าพนักงานในระดับเดียวกัน ซึ่งโอกาสที่บุคคลเหล่าลงมาเตือนพวกขาเม้าท์ด้วยตัวเอง ก็ต้องมีภาษีดีกว่าและพนักงานก็น่าจะพร้อมปฏิบัติตามมากกว่า ไม่ต้องกลัวว่าพวกเขาจะมองว่าคุณเป็นคนขี้ฟ้อง แต่ให้ยกเหตุผลเรื่องสมาธิในการทำงานมาประกอบเป็นหลัก จะทำให้ดูน่าเชื่อถือมากขึ้น แต่อย่างไรก็ดีก็ยังมีคนจำพวกที่ว่า ถ้าโดนหัวหน้าเตือนแล้ว เมื่อหัวหน้าอยู่ใกล้ๆ ตรงนั้น ก็จะทำเป็นคุยเสียงเบาๆ แต่วันไหนที่หัวหน้าไม่อยู่เมื่อไร ก็กลับมาตลาดแตกเหมือนเดิม

8. ย้ายโต๊ะทำงาน

สุดท้ายแล้วถ้าลองวิธีที่เราแนะนำมาทั้งหมด แล้วยังไม่มีอะไรดีขึ้น ลองปรึกษากับหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลใหม่อีกครั้ง แต่คราวนี้เป็นเรื่องการขอย้ายโต๊ะทำงานหนี เพราะไม่จำเป็นที่เราต้องกับสภาวะ Toxic แบบนี้ต่อไปแล้ว แต่วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่เสี่ยงที่สุด ที่จะทำให้คุณเกิดความบาดหมางใจกับกลุ่มขี้เม้าท์ได้ แต่ถ้าแลกกับสมาธิในการทำงานและบรรยากาศที่ดีขึ้น ก็จำเป็นต้องทำวิธีนี้ แล้วยิ่งหากกลุ่มขี้เม้าท์เป็นแผนกข้างๆ กัน หรือไม่จำเป็นต้องทำงานร่วมกัน ยิ่งไม่ต้องแคร์เลยด้วยซ้ำ

สรุปวิธีหยุดคนพูดมากในที่ทำงานแบบเนียนๆ

ความเกรงใจเป็นสมบัติของผู้ดี ประโยคนี้ถือเป็นประโยคคลาสสิคที่ใช้ได้เสมอ รวมไปถึงกับเหตุการณ์นี้ โดยเฉพาะในสังคมที่ทำงานที่มีมนุษย์เงินเดือนหลายคนมารวมตัวกัน ยิ่งต้องมีความเกรงใจกันเป็นหลักอยู่แล้ว แม้การพูดคุยกันในที่ทำงานถือเป็นเรื่องปกติที่สามารถทำได้ เพราะจะช่วยผ่อนคลายความเครียดจากงานอันเหนื่อยล้า แต่การเม้าท์ก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความพอดีด้วย แค่นี้ก็จะช่วยให้สังคมในที่ทำงานน่าอยู่ขึ้นมากแล้ว แถมยังช่วยให้งานที่ทำอยู่ ออกมามีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

jobsDB Mobile App

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%ab%e0%b8%b1%e0%b8%a7%e0%b8%ab%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b2-%e0%b8%a5%e0%b8%b9%e0%b8%81%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a2%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด