หน้าที่ของงาน นำเข้า ส่งออก มีรายละเอียดการทำงานอย่างไรบ้าง

หน้าที่ของงาน นำเข้า ส่งออก มีรายละเอียดการทำงานอย่างไรบ้าง
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2562 เป็นต้นมาภาคการนำเข้า - ส่งออกของประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตน้อยลง รวมถึงยังได้รับผลกระทบจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น และมีแนวโน้มจะแข็งค่าขึ้นอีกในปี 2563 ซึ่งส่งผลเสียต่อภาคการนำเข้า ส่งออกอย่างต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามงานภาคการส่งออกก็ยังคงเป็นองค์ประกอบสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่ขาดไม่ได้ หากใครกำลังสนใจงานภาคการส่งออกอยู่ แต่ยังไม่รู้ว่าต้องทำงานอะไรบ้าง วันนี้เรามีรายละเอียด งานนำเข้า ส่งออก มาอธิบายเพื่อทำความเข้าใจงานด้านนี้ให้มากขึ้น

ตำแหน่งงานด้านการนำเข้า - ส่งออก

- พนักงานฝ่าย จัดซื้อ และจัดส่ง
- พนักงานคลังสินค้า
- พนักงานประเมินราคา
- ตัวแทนการนำเข้า และส่งออกสินค้า

คุณสมบัติของพนักงาน
- สำเร็จการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. ถึงปริญญาตรี ถ้าหากว่ามีประกาศนียบัตรแสดงการอบรมหลักสูตรตัวแทนออกของจากสถาบันที่ได้การรับรองจากกรมศุลกากรด้วยจะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ
- มีบัตรผ่านพิธีการศุลกากร หรือบัตรตัวแทนออกของจากกรมศุลกากร
- สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานพื้นฐานได้
- สามารถใช้ ภาษาต่างประเทศ ได้อย่างคล่องแคล่วโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ
- มีความรู้เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับทางศุลกากร วิธีปฏิบัติเกี่ยวกับเอกสารการค้าธุรกิจระหว่างประเทศ
- มีความรับผิดชอบต่อองค์กร และลูกค้า

รายละเอียดหน้าที่การทำงาน

งานนำเข้า ( Import )
เป็นงานนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศทั้งจากทางเรือ ทางอากาศ ทางรถยนต์ หรือทางรถไฟ โดยผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับการนำเข้าสินค้าจะต้องดูแลเรื่องราคาสินค้า ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ค่าประกันภัยต่างๆ นอกจากนี้เมื่อสินค้ามาถึงท่าเรือ หรือท่าอากาศยานแล้ว จะต้องเตรียมเอกสารในการสำแดงรายละเอียดต่อกรมศุลกากร ชำระภาษีนำเข้า รวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพื่อนำสินค้าชิ้นนั้นออกมา

งานส่งออก (Export)

คืองานที่ดูแลรายละเอียดในการ ขนส่งสินค้า ในประเทศออกไปยังต่างประเทศ โดยจะต้องติดต่อเจรจากับผู้ซื้อในต่างประเทศทั้งเรื่องราคา เส้นทางการขนส่ง ค่าใช้จ่าย และค่าประกันต่างๆ

ซึ่งทั้งงานนำเข้า และส่งออกจะต้องประสานงานกับหลายหน่วยงานมาก ไม่ว่าจะเป็นกรมศุลกากร กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม เป็นต้น และมีหน้าที่ในการจัดเรียงใบแจ้งหนี้ให้กับลูกค้า เตรียมการเช็คสินค้าเพื่อรับการเรียกเก็บเงิน สอบถามข้อมูลด้วยตนเองการตรวจสอบความถูกต้องจากภายใน และเอกสารภายนอก ต้องมีความรู้ด้านสิทธิประโยชน์ทาง BOI สิทธิประโยชน์เรื่องเขตการค้าเสรีต่างๆ ควบคุมเอกสารที่จำเป็นทั้งหมด อาทิ

- PO, Purchasing Order หรือใบสั่งซื้อสินค้า
- PI, Proforma Invoice หรือใบเรียกเก็บเงิน
- PL, Packing List หรือรายการบรรจุสินค้า
- CI, Commercial invoice หรือใบกำกับราคาสินค้า
- B/L, Bill of lading หรือใบตารางส่งสินค้าทางเรือ
- AWB, Airway Bill หรือใบตารางส่งทางอากาศ
- D/O, Delivery order หรือใบปล่อยสินค้า
- Export / Import entry หรือใบขนสินค้าขาออก/ขาเข้า
- Marine/Air Insurance หรือประกันภัยขนส่งสินค้า
- CO, Certificate of Origin หรือเอกสารยืนยันถิ่นกำเนิด

ระบบการทำงานนำเข้า หรือส่งออก เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่เกี่ยวกับการขนส่ง ที่ต้องติดต่อประสานงานทั้งในระดับประเทศ และนานาชาติอย่างมาก ดังนั้นการทำงานจะต้องมีความละเอียด รอบคอบ รวมถึงสามารถประสานงานได้เป็นอย่างดี หากสนใจสมัครงานนำเข้า ส่งออกก็สามารถสมัครได้หลากหลาย เพราะนอกจากบริษัทที่นำสินค้าเข้า และส่งสินค้าออกของประเทศไทยแล้ว ยังมีบริษัทต่างประเทศที่ให้บริการนำของเข้า และส่งออกระดับนานาชาติโดยเฉพาะ ซึ่งต้องการพนักงานที่จะมาทำงานในด้านนี้มากพอสมควร

สมัครงานด้านการนำเข้า ส่งออกกับบริษัทชั้นนำได้ที่ jobsDB
#ให้ก้าวแรกของการทำงานกำหนดเส้นทางชีวิตคุณ
#jobsDB
ลงทะเบียน
หางานได้ง่ายกว่าเดิมผ่าน application บนมือถือจากjobsDBทั้ง iOS และ Android โหลดเลย

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด