เรื่องจริงที่เด็กสาย STEM ควรรู้ก่อนเข้าสู่ชีวิตการทำงาน

เรื่องจริงที่เด็กสาย STEM ควรรู้ก่อนเข้าสู่ชีวิตการทำงาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ปัญหาหนึ่งที่ผู้ประกอบการมักพบเจอกับเด็กจบใหม่ในทุกสายงานที่รับเข้ามาทำงานในองค์กร คือไม่สามารถนำความรู้ที่เรียนมาใช้ในชีวิตการทำงานได้อย่างเต็มที่ ส่งผลให้ไม่ผ่านการประเมินในช่วงทดลองงาน และต้องเปลี่ยนงานใหม่เป็นประจำ ยิ่งถ้าคุณมีโอกาสได้เข้าร่วมงานในองค์กรใหญ่ ๆ แต่ไม่สามารถทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่บริษัทตั้งใจไว้ คงเป็นเรื่องน่าเสียดายไม่น้อย

ด้วยเทคโนโลยีมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา ทำให้ผู้ประกอบการที่ทำงานในสาย STEM ต้องเจอกับปัญหาเด็กจบใหม่ที่มีความรู้ไม่สอดคล้องกับการปฎิบัติงานจริง jobsDB จึงขอนำเสนอ4 เรื่องจริงที่เด็กสาย STEM ควรรู้ก่อนเข้าสู้ชีวิตการทำงานเพื่อที่ว่านักศึกษาที่กำลังจะเรียนจบสายนี้ จะได้มีโอกาสเตรียมตัวเองให้พร้อมก่อนยื่นใบสมัครงาน และก้าวเข้าสู่ชีวิตการทำงานจริงอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ชีวิตในห้องเรียน กับห้องทำงานนั้นต่างกัน

เด็กจบใหม่หลายราย แม้จะเรียนวิชาเฉพาะทางในห้องเรียนมา ได้คะแนนเฉลี่ยสูง แต่เป็นเรื่องน่าเสียดายที่ไม่สามารถนำความรู้และศักยภาพในตัวเองมาประยุกต์ใช้กับงานที่ได้รับมอบหมายจริงในห้องทำงานได้ ซึ่งถือเป็นปัญหาใหญ่ของผู้จ้างงานในหลายองค์กร

ยกตัวอย่างเช่น นักศึกษาเรียนวิชาสถิติ (Statistics) มา ทำงานด้านการควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ นักศึกษากลับไม่ทราบว่าจะนำความรู้ด้านสถิติมาใช้ทำอะไรกับงานจริงได้บ้าง หรือไม่สามารถนำความรู้ด้านสถิติมาแปลความหมายการคำนวณนั้นได้

ดังนั้นก่อนที่คุณจะเริ่มทำงานจริง ควรใช้เวลาว่างศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรืองานที่คุณต้องรับผิดชอบ ว่าเมื่อคุณลงมือปฏิบัติงานจริงแล้ว ความรู้ที่คุณเรียนมาจะถูกนำไปใช้ในส่วนไหนได้บ้าง มีเครื่องมือใดบ้างเพื่อต่อยอดความรู้ที่ได้เรียนในห้องเรียน เครื่องมือในที่นี้อาจหมายถึงวิธีการใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เป็นต้น แล้วคุณอยากนำความรู้นั้นไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์อะไรกับบริษัทที่คุณกำลังจะร่วมงาน

2. สิ่งที่เรียนมาอาจล้าสมัย ต้องตามเทคโนโลยีให้ทัน

เทคโนโลยีใหม่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ทุกนาที ดังนั้นนักศึกษาสาย STEM ที่กำลังจะเรียนจบต้องมีการตื่นตัวกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา วันนี้ข้อมูลที่คุณเรียนอาจเป็นอย่างหนึ่ง ผ่านไป 2-3 เดือนอาจมีการเปลี่ยนแปลงใหม่เป็นอีกอย่างหนึ่ง

ยกตัวอย่างเช่น คุณเรียนจบด้านวิศวกรไฟฟ้า เรียนทำโจทย์ คำนวนวงจรไฟฟ้าจากในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการมา พอมาทำงานจริงอาจไม่ต้องคำนวนจริง แต่ในเชิงการผลิต เชิงเทคโนโลยีอาจต้องใช้โปรแกรมมาวิเคราะห์ปัญหาแทน และยังคงต้องใช้ความรู้ที่เรียนมามาอ้างอิง

หากคุณเป็นคนที่เรียนจบและทำงานในสายนี้ ควรหาโอกาสในการพัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นศึกษาเพิ่มเติมในหลักสูตรเฉพาะตามมหาวิทยาลัย เรียนรู้ประสบการณ์ตรงจากผู้รู้ ผ่านการเข้าร่วมอบรม หรือสัมมนาจากหน่วยงานและองค์กรในสายนั้น รวมไปถึงเข้าร่วมงานแสดงสินค้า เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่จัดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

3. การปฏิบัติงานตามลำดับขั้นตอนใช้งานจริงกับชีวิตไม่ได้เสมอไป

นักศึกษาที่เรียนจบสาย STEM ส่วนใหญ่ถูกสอนให้ทำงานตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ มักมีกรอบแนวทางการดำเนินงานอย่างมีขั้นตอนชัดเจน ตั้งแต่ลำดับ 1-10 เรียนรู้ผ่านการอ้างอิง หลักการ และทฤษฎีมาโดยตลอด เมื่อเรียนจบมาทำงานจริง ซึ่งต้องทำงานกับเพื่อนร่วมงานในสายอาชีพอื่นอาทิ จัดซื้อ การเงิน ฝ่ายขาย อาจนำความคิดเชิงกระบวนการลำดับขั้นตอนเหล่านั้นมาใช้ทั้งหมดไม่ได้เสมอไป

ยกตัวอย่างเช่น หากคุณต้องการเครื่องมือและอุปกรณ์ประกอบ มาใช้ในกระบวนการผลิตซึ่งอุปกรณ์ประกอบนี้จะช่วยเพิ่มผลิตภาพในการผลิตได้อย่างมาก แต่ติดขัดด้วยเรื่องของงบประมาณหรือกฎเกณฑ์บางอย่างทำให้ไม่สามารถซื้อได้ ดังนั้นต้องอาศัยการเจรจาต่อรองกับบริษัทเพื่อทำให้ได้อุปกรณ์ประกอบนี้มาใช้งานร่วมด้วยกับเครื่องมือโดยที่ไม่ผิดกฎเกณฑ์ การเจรจาหรือต่อรองเหล่านี้ไม่มีทฤษฎีรองรับ ไม่มีแหล่งให้อ้างอิง ใช้หลักการไม่ได้ สิ่งเหล่านี้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ไม่ได้บอกไว้

4. การสื่อสารที่เข้าใจง่ายสุด คือการใช้ศัพท์เฉพาะให้น้อยที่สุด

การเรียนพื้นฐานของนักศึกษาสาย STEM จะเน้นหนักไปที่หลักการและวิชาการ ซึ่งมีคำศัพท์เฉพาะมากมาย เมื่อถึงเวลาทำงานจริงที่ต้องนำเสนองาน นักศึกษามักขาดทักษะด้านการสื่อสาร ทั้งทักษะในการนำเสนอและพรีเซนต์งาน รวมไปถึงทักษะการสื่อสารในที่สาธารณะเพื่อให้บุคคลหรือเพื่อนร่วมงานในสายอื่น ระดับความรู้อื่น เข้าใจคำศัพท์เฉพาะ หรือขั้นตอน วิธีการที่เราต้องการจะสื่อสาร ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนสำคัญของนักศึกษาจบใหม่ในสายนี้

ยกตัวอย่างเช่น นาย A เพิ่งเรียนจบคณะแพทย์มา เมื่อต้องอธิบายอาการป่วยและวิธีการรักษาให้ผู้ป่วยและญาติทราบ อาจต้องใช้คำศัพท์เฉพาะควบคู่ไปกับการอธิบายโดยใช้คำศัพท์ที่ง่ายต่อการเข้าใจ รวมถึงการใช้หนังสือหรือภาพประกอบที่ ทำให้ผู้ป่วยและญาติเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่เกิดความสงสัย หรือกังวลกับสิ่งที่คุณต้องการจะบอก

หากคุณเพิ่งเรียนจบ และต้องการเติบโตในสายอาชีพนี้ jobsDB ขอแนะนำให้คุณหมั่นเรียนรู้ หาประสบการณ์การทำงานทั้งสายงานที่ตนเรียน และเรียนรู้ทักษะอื่นเพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา รวมไปถึงการหาโอกาสในการทำงานร่วมกับคนในสายงานอื่น ๆ สะสมประการณ์การทำงานจากนอกห้องเรียน นอกสถาบันให้มากที่สุด เพื่อเป็นการเปิดโลกการทำงานให้กับตัวคุณเอง และเป็นการสร้างความโดดเด่น สร้างจุดขายให้กับตัวคุณเองก่อนจะเข้าสู่ชีวิตการทำงานจริง

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

คุณเป็นเด็กจบใหม่ในแบบที่นายจ้างมองหาแล้วหรือยัง

บัณฑิตแบบไหนจะไปรอด ในตลาดงานยุคไทยแลนด์ 4.0

More from this category: งานแรก

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด