นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที กับเส้นทางด้านอาชีพที่คุณควรรู้

นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที กับเส้นทางด้านอาชีพที่คุณควรรู้
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

จะเห็นได้ว่าทุกวันนี้โลกถูกขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ธุรกิจและบริษัทหลาย ๆ แห่งก็ถูกขับเคลื่อนไปด้วยเทคโนโลยี หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มองหาอาชีพที่มีการวิเคราะห์ธุรกิจและมีการผสมผสานความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมธุรกิจให้ก้าวหน้าไปด้วยกันแล้ว อาชีพนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เหมาะกับคุณ บทความนี้จะพาคุณไปพบกับเส้นทางสายอาชีพของนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีว่าตำแหน่งนี้มีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไรบ้าง และหากจะประสบความสำเร็จได้ควรมีคุณสมบัติอย่างไร

นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที ทำอะไร

นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที หรือการวิเคราะห์ธุรกิจด้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ นั้น จะเปรียบเสมือนนักแก้ปัญหาให้กับองค์กรผ่านการวิเคราะห์ข้อมูล และเป็นสะพานเชื่อมระหว่างด้านธุรกิจและด้านเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน การที่นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีจะนำพาธุรกิจให้ประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องเลือกใช้วิธีแก้ปัญหาผ่านเทคโนโลยีที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีความยั่งยืน

การจะเป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีได้นั้น จะต้องมีการทำงานร่วมกับบุคคลหลายฝ่ายไม่ว่าจะเป็นฝ่ายผู้จัดการ หัวหน้างาน และแผนกต่าง ๆ ในบริษัท การจะทำงานในตำแหน่งนี้ควรจะมีความสามารถในการแก้ปัญหาให้กับธุรกิจหรือองค์กรได้โดยใช้นโยบาย โครงสร้างและการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด และควรมีความรู้ด้านการวิเคราะห์คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีอื่น ๆ พร้อมให้ความรู้เกี่ยวกับการอัปเกรดและปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่ได้ นอกจากนี้ยังต้องมีการติดตามการดำเนินการ คอยแก้ปัญหา ตรวจสอบความคืบหน้า และปรับปรุงพัฒนางานอีกด้วย

หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีการพัฒนากำลังผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมที่กำหนดไว้เพื่อช่วยด้านกำลังผลิตของพนักงานและธุรกิจให้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังต้องร่วมมือกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อวิเคราะห์ด้านต้นทุน กำไร และศึกษาการทำงานของโครงการต่อ ๆ ไปอีกด้วย

การจะทำหน้าที่นี้ได้นั้นต้องใช้ความรู้ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นอย่างมาก การวิเคราะห์ข้อมูลจะช่วยให้มองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ตรงจุด และสามารถบอกวิธีแก้ปัญหาพร้อมทั้งแนะนำวิธีการทำงานโดยใช้ข้อมูลเป็นหลักได้ โดยสรุปแล้วนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที คือผู้ที่เชื่อมต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพและมีความเป็นไปได้ในแง่การเงิน อีกทั้งยังต้องมีไอเดียใหม่ ๆ ในการแก้ปัญหาที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นอีกด้วย

หน้าที่ความรับผิดชอบของนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที

หน้าที่หลักของนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีมีดังนี้

  • รวบรวม วิเคราะห์ และค้นคว้าเกี่ยวกับความต้องการทางธุรกิจ กระบวนการ และนโยบายที่อาจเกี่ยวข้องหรือเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • พัฒนาและนำเสนอการปรับปรุงและอัปเกรดกระบวนการที่มีอยู่ให้ดีขึ้น
  • รวบรวมข้อมูลจากหัวหน้างาน ผู้บริหาร และผู้จัดการจากแผนกต่าง ๆ เกี่ยวกับการเติบโตของธุรกิจและแนวทางการดำเนินธุรกิจต่อไป
  • มองเห็นช่องว่างระหว่างกระบวนการทางธุรกิจและความสามารถในการใช้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมาช่วยจัดการได้
  • ประเมินความสามารถของคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีอื่น ๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันและสามารถแนะนำอุปกรณ์หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้
  • สามารถสร้าง เชื่อมต่อ และดำเนินการงานด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการด้านขั้นตอนการทำงานหรือนโยบายต่าง ๆ
  • ประสานงานกับแผนกต่าง ๆ หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้องรวมถึงลูกค้า
  • เตรียมรายงานและพัฒนาขั้นตอนการดำเนินงานโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่เป็นหลัก
  • ตรวจสอบ และบำรุงอุปกรณ์และเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่มีอยู่ให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ
  • ออกแบบและทำการทดสอบขั้นตอนที่ใช้อยู่ให้มีประสิทธิภาพ
  • ช่วยเสริมสร้างโอกาสทางธุรกิจผ่านการค้นคว้าและวิเคราะห์ข้อมูล
  • ดูแลต้นทุนและวางแผนค่าใช้จ่ายทางธุรกิจต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

อัตราเงินเดือน

จากรายงานอัตราเงินเดือนของ JobsDB จะเห็นได้ว่าอัตราเงินเดือนของนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที ระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส - ผู้จัดการ จะอยู่ที่ 35,000 - 70,000 บาท ปัจจัยในการขึ้นเงินเดือนนั้นขึ้นอยู่กับทักษะ  อุตสาหกรรมที่ทำอยู่ บริษัท และประสบการณ์ที่มี

ทักษะพื้นฐานบางอย่างที่จำเป็น เช่น ความสามารถในการใช้ Microsoft Office หรือ การพัฒนาระบบปฏิบัติการ สามารถช่วยให้อัตราเงินเดือนสูงขึ้นได้ถึง 29% ในขณะที่ทักษะอย่างการจัดการโครงการ อาจจะช่วยให้ขึ้นเงินเดือนได้ประมาณ 13%  ทักษะด้านการวิเคราะห์ธุรกิจและวิเคราะห์ความต้องการทางธุรกิจช่วยให้เรียกเงินเดือนเพิ่มขึ้นได้ 6% ส่วนทักษาะด้านภาษาที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลช่วยเพิ่มอัตราเงินเดือนได้ 1 %

เส้นทางสายอาชีพของนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที

เส้นทางสายอาชีพของนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ซึ่งรวมถึงเส้นทางด้านอาชีพของอุตสาหกรรมที่ทำอยู่ด้วย แต่จะเห็นได้ว่าเส้นทางของอาชีพนี้มีความเป็นไปได้หลากหลายเลยทีเดียว

หากคุณมีพื้นฐานความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่แล้วก็จะเป็นหนึ่งในจุดแข็งของคุณในการเริ่มต้นเป็นผู้จัดการโครงการหรือผู้จัดการโปรแกรมได้ แต่หากคุณมีความรู้ด้านธุรกิจเป็นพื้นฐานมากกว่าด้านเทคโนโลยี คุณอาจจะเริ่มต้นอาชีพนี้ด้วยการเป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจ ผู้จัดการสื่อ หรือผู้ปรึกษาด้านธุรกิจได้

หากคุณเริ่มต้นจากการเป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที และเริ่มมีประสบการณ์การทำงานมากขึ้น และได้โอกาสในการเรียนรู้ด้านการ Coding และออกแบบมากขึ้นแล้ว คุณอาจจะพัฒนาไปเป็นนักพัฒนาเว็บไซต์ได้  หรือหากมีประสบการณ์มากพอ ก็สามารถเลื่อนตำแหน่งเป็นผู้จัดการโปรแกรมได้

หากคุณเป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที ยังมีตำแหน่งอื่น ๆ ที่สามารถพัฒนาตนเองตามประสบการณ์ที่มีได้ดังนี้

ระดับเจ้าหน้าที่ (ประสบการณ์ 1-3 ปี)

  • เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที
  • เจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูล

เจ้าหน้าที่ระดับกลาง (ประสบการณ์ 4-8 ปี)

  • ผู้จัดการด้านการวิเคราะห์ธุรกิจ
  • ผู้จัดการโครงการ
  • นักพัฒนาเว็บไซต์

ระดับหัวหน้างาน (ประสบการณ์ 8 ปีหรือมากกว่า)

  • ผู้จัดการสื่อ
  • หัวหน้างานการจัดการโครงการ
  • ผู้จัดการโปรแกรม

คุณสมบัติที่ควรมีในการเป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที

ทักษะที่ควรมี

  • การวิเคราะห์ธุรกิจ

  • คุณต้องมีความสามารถในการสอบถามหัวหน้างาน และผู้บริหารเพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทำธุรกิจต่าง ๆ พร้อมรับรู้ขั้นตอนการทำธุรกิจทั้งหมดได้
  • มีความรู้ด้านระบบอัจฉริยะที่ใช้ในการทำธุรกิจต่าง ๆ
  • นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีต้องมีประสบการณ์ และความชำนาญด้านระบบหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ใช้ในธุรกิจ รวมถึงระบบอย่าง Microsoft Azure, Tableau, Power BI, QlikView และ SAP-BI
  • มีประสบการณ์ด้านภาษาโปรแกรมต่าง ๆ
  • มีความรอบรู้ภาษาโปรแกรมต่าง ๆ เช่น SQL, Python หรือ R
  • ทักษะด้านเทคนิคอื่น ๆ
  • ทักษะต่าง ๆ ที่เรียนรู้ได้จากสถาบันการศึกษา และสามารถนำมาใช้งานได้ ทักษะเหล่านี้ไม่ได้ถูกจำกัดว่าต้องมีทักษะด้านไหนบ้าง แต่นับว่าเป็นทักษะที่ควรมี เช่น ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ การพัฒนาเว็บไซต์ และการสร้างโปรแกรมต่าง ๆ
  • การวิเคราะห์ต้นทุน - กำไร
  • นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีที่ดีควรมีความสามารถในการเปรียบเทียบ และประมาณการต้นทุน และผลกำไรในแต่ละโครงการที่ทำได้ด้วย
  • ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูล
  • นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีควรรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างแม่นยำ รวมถึงแปลงผลข้อมูลให้ออกมาเป็นกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งสามารถแนะนำวิธีการแก้ปัญหาด้วยข้อมูลที่มีได้
  • การจัดการโครงการ
  • นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีควรรู้จักวิธีการจัดการโครงการโดยนำเครื่องมือที่เหมาะสมมาใช้ พร้อมทั้งสามารถจัดการและหาวิธีแก้ปัญหาในธุรกิจได้

ทักษะอื่น ๆ

  • ทักษะการแก้ปัญหา
  • คุณควรมีทักษะในการมองเห็นปัญหาและช่องว่างที่เกิดขึ้นในองค์กร พร้อมกับมองหาวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพได้
  • ความคิดสร้างสรรค์จะช่วยให้คุณสามารถมองหาวิธีการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนใหม่ ๆ ได้
  • ทักษะด้านการสื่อสาร
  • นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีควรมีทักษาะการื่อสารทั้งด้านการเขียนและด้านการพูด เพราะตำแหน่งนี้ต้องการคนที่สามารถรวบรวมข้อมูลจากหัวหน้างาน และแผนกต่าง ๆ นอกจากนี้ควรมีทักษะการฟังที่ดีอีกด้วย
  • ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์
  • นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีต้องมีความสามารถในการประสานงาน และต้องทำงานเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย ดังนั้นการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีจะช่วยให้งานมีความราบรื่นมากขึ้น
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม
  • การทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ทั้งมีและไม่มีความรู้ด้านเทคนิค รวมถึงทำงานร่วมกับบุคคลทั่วไปให้มีความราบรื่นนั้นต้องอาศัยทักษะการทำงานเป็นทีมและอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทุกคนให้ความร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้

การศึกษา

การศึกษาระดับอาชีวะหรือปริญญาตรีด้านวิทยาการคำนวณ การพัฒนาซอฟต์แวร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ บริหารธุรกิจ หรือด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องก็สามารถพัฒนาให้คุณทำงานเป็นนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีได้

หากมีการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไปก็อาจจะขึ้นเป็นระดับผู้จัดการหรือผู้บริหารได้ เช่น การเรียนปริญญาด้านการบริหารธุรกิจ โดยเลือกเรียนในสายระบบงานและการจัดการธุรกิจก็ช่วยให้คุณอยู่ในสายอาชีพนี้ได้เช่นกัน

ใบรับรองหรือประกาศนียบัตรต่าง ๆ

ถึงแม้ว่าการมีประกาศนียบัตรจากสถาบันต่าง ๆ จะไม่ใช่เรื่องจำเป็น แต่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับตัวคุณได้ ใบรับรองในสาขาต่าง ๆ ที่ควรมี เช่น ใบประกาศจากสถาบัน International Institute of Business Analysis™ ที่มีหลักสูตรให้เรียนมากมาย เช่น หลักสูตร Agile Analysis (IIBA-AAC) หลักสูตร IIBA Certified Business Analysis Professional (CBAP) และหลักสูตร Business Data Analytics Certification (IIBA-CBDA)

โอกาสในการเรียนรู้

การเรียนหลักสูตรเสริมต่าง ๆ ก็สามารถช่วยให้คุณก้าวหน้าในหน้าที่การงานสายนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอทีได้ หลักสูตรเสริมต่าง ๆ ที่ควรเรียนมีดังนี้ หลักสูตร CISM®  หลักสูตร CISSP® หลักสูตร CCSP® หลักสูตร CRISC® หลักสูตร CISA® หลักสูตร SABSA® หลักสูตร ISO 27001

นอกจากนี้ยังมีหลักสูตรอื่น ๆ ที่ช่วยเสริมสร้างทักษะหลากหลายด้านให้คุณมีความรู้ครอบคลุมมากขึ้น เช่น หลักสูตร AgilePM® หลักสูตร Scrum หลักสูตร TOGAF® หลักสูตร ITIL® หลักสูตร PRINCE2® และ COBIT®

การเขียน เรซูเม่ สำหรับนักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที

ชื่อเต็ม

รายละเอียดการติดต่อ [ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมล]

สรุปการทำงาน

มีประสบการณ์ทำงานด้านการวิเคราะห์ธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเวลา 5 ปี รวมถึงสามารถพัฒนา จัดเก็บ และมองหาวิธีแก้ปัญหาของธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีได้ นอกจากนี้ยังมีประสบการณ์ทำงานในด้านระบบอัจฉริยะที่ใช้ในธุรกิจ เช่น การใช้โปรแกรม Microsoft Azures และ Tableau รวมถึงมีความรู้ด้านภาษาการเก็บข้อมูลและมีความชำนาญเป็นพิเศษในภาษา SQL  ดิฉัน / กระผม มีความมุ่งหวังในการทำอาชีพนี้ว่าจะสามารถช่วยพัฒนาธุรกิจด้วยการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เหมาะสม และมีประสิทธิภาพได้

ประวัติการทำงาน

[ชื่อบริษัท],กรุงเทพ ฯ , ประเทศไทย

นักวิเคราะห์ธุรกิจด้านไอที, ก.ค. 2562 – ส.ค. 2564

  • พัฒนาระบบออนไลน์สำหรับการทำธุรกิจแบบ B2B ให้ตามความต้องการของลูกค้า
  • สร้างแผนการพัฒนา 3 ปีให้กับแผนกเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • ดูแลการดำเนินงานของโครงการและระบบการสื่อสารภายในโครงการ
  • สามารถทำงานเสร็จทันเวลาและต่ำกว่าต้นทุนที่ประมาณการไว้ 10% ของทุกโครงการ

[ชื่อบริษัท],กรุงเทพ ฯ, ประเทศไทย

นักวิเคราะห์ข้อมูล ก.ย. 2559 – มิ.ย. 2562

  • ทำงานด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกของระบบการจ่ายเงิน
  • ทำรายงานเพื่อการปรับองค์กรให้กับบริษัทโดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูล
  • จัดการระบบการจัดซื้อให้มีคุณภาพ

ทักษะ

  • ทักษะด้านเทคนิค
    • การใช้ข้อมูล SQL: SQL, ACL, Tableau Access, Excel
    • การตรวจสอบความเสี่ยง
    • การจัดการโครงการ
    • การวิเคราะห์ต้นทุน
  • ทักษะอื่น ๆ
    • การทำงานเป็นทีม
    • ความคิดสร้างสรรค์
    • ทักษะด้านการสื่อสาร

การศึกษา

ปริญญาตรีด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

[ชื่อมหาวิทยาลัย], 2555-2559

  • เกียรตินิยมอันดับสอง
  • หัวหน้าชั้นสายการเรียน เทคโนโลยีสารสนเทศปี 2558

ดาวน์โหลดรูปแบบการเขียนเรซูเม่ได้ ที่นี่

อาชีพที่เกี่ยวข้อง

  • วิศวกรซอฟต์แวร์
  • นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล
  • นักวิเคราะห์ความปลอดภัยของข้อมูล

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b8%b5/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b9%82%e0%b8%a3%e0%b8%84%e0%b8%a0%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%8a%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b9%84%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b8%b5/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด