เทคนิคการหางาน ตอน วันสัมภาษณ์งาน

เทคนิคการหางาน ตอน วันสัมภาษณ์งาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

เมื่อถึงวัน สัมภาษณ์งาน นั้นหลายคนมักจะมองข้ามความสำคัญของการแต่งกาย เช่น ผู้ชายใส่เสื้อยับยู่ยี่ หรือผู้หญิงสวมกางเกง หรือบางคนแต่งชุดเหมือนจะไปงานราตรีไปสัมภาษณ์งาน หรือบางคนก็ใส่กระโปรงผ่าหน้า ผ่าหลังทำเอาคนสัมภาษณ์ไม่เป็นอันสัมภาษณ์

เรื่องการแต่งกายเหล่านี้จะทำให้ถูกมองว่าไม่ถูกกาลเทศะแล้วยังจะทำให้เสียคะแนนได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นคุณควรนึกไว้ว่าคุณกำลังไปสมัครงาน กำลังที่จะก้าวเข้าสู่ของคนที่มีความรู้ และความพร้อมในการทำงานซึ่งการแต่งกายนั้นก็ควรที่จะให้สมกับ ตำแหน่งงาน ด้วย

สิ่งที่ควรนำติดตัวไปด้วยก่อนออกจากบ้าน ซึ่งคุณควรเตรียมหลักฐานในการไปสมัครงานให้ครบทุกชิ้น เพราะการสมัครงานนั้นมีเอกสารมากมายซึ่งคุณควรที่จะนำใส่แฟ้มให้เรียบร้อยได้แก่

    1. เอกสารประวัติย่อ หรือเรซูเม่
    2. ใบปริญญาบัตร หรือเอกสารรับรองจากมหาวิทยาลัย(Transcript)
    3. ประกาศนียบัตรวิชาชีพต่างๆ (ถ้ามี)
    4. รูปถ่าย
    5. ใบรับรองการทำงาน
    6. สำเนาบัตรประชาชน
    7. สำเนาทะเบียนบ้าน
    8. ใบผ่านการยกเว้นเข้าประจำการทหาร หรือใบผ่านการเกณฑ์ทหารแล้ว (สำหรับผู้ชาย)
    9. สำเนา จดหมายสมัครงาน
    10. ผลงานต่าง เช่น สถาปนิก
    11. ข้อมูลเกี่ยวกับบริษัท ที่คุณไปค้นคว้ามา

ข้อมูลที่เกี่ยวกับบริษัทนั้นมีไว้เพื่อให้คุณอ่านเป็นการเตรียมพร้อมของตัวคุณเอง สำหรับสำเนาจดหมายสมัครงานก็ควรนำไปเผื่อไปเพื่อเตือนความจำของเขาด้วย

สิ่งที่ไม่ควรนำติดตัวไปด้วยก่อนออกจากบ้าน ได้แก่

  1. เพื่อน
  2. คนรัก/สามี ภรรยา
  3. พ่อแม่ ญาติผู้ใหญ่
  4. ลูกหลาน

ที่ไม่ควรนำติดตัวไปเพราะว่าคุณโตแล้วควรที่จะรับผิดชอบชีวิตของคุณเองได้แล้ว เพราะคุณกำลังก้าวสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ไม่ใช่โลกของเด็กๆ ที่ต้องมีญาติผู้ใหญ่ไปด้วยเพื่อเพิ่มความเชื่อมั่นของตัวเองแล้วหล่ะ

การตรงต่อเวลาเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดเมื่อถึงวันสัมภาษณ์เพราะหลังจากที่คุณแน่ใจว่าไม่ลืมเอกสารใดๆ แล้วคุณก็ควรเผื่อเวลาในการเดินทางไปด้วย หากเขานัดสัมภาษณ์ 9.00น. ก็ควรกะให้ไปถึงก่อนเวลาอย่างน้อยครึ่งชั่วโมง เพราะคุณจะได้มีเวลาสำรวจการแต่งกาย หรือเสื้อผ้า หน้า ผม ได้อีกรอบ อีกทั้งการตรงต่อเวลานั้นแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบในตัวเอง การไปไม่ตรงเวลานัด และอ้างว่ารถติด ฝนตก หาห้องไม่เจอ ฯลฯ ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ดูฟังไม่ขึ้น และทำให้ผู้สัมภาษณ์ดูคุณเป็นคนไม่รอบคอบ ไม่รักษาเวลา และไม่มีการวางแผน

นอกจากเกิดเหตุสุดวิสัยจริงๆ ก็ควรโทรไปแจ้งให้ทราบพร้อมบอกเหตุผลด้วย ไม่ใช่ให้ปล่อยให้ผู้สัมภาษณ์นั่งคอย และคิดว่าคุณจะไปตามนัด ไม่ว่าคุณจะได้งานจากเขาหรือไม่ก็ตาม

หรือถ้าหากเรามามารออยู่ที่บริษัทนานแล้ว แล้ว ผู้สัมภาษณ์ ผู้สัมภาษณ์ยังไม่มาซักทีเราก็ไม่ควรที่จะแสดงกิริยาหงุดหงิด งุ่นง่าน ผุดลุกผุดนั่ง ควรที่จะอดทน และให้ทนต่อไปด้วยความสงบ เพราะบางทีอาจจะไม่ใช่ว่าผู้สัมภาษณ์มาสาย แต่เป็นการทดสอบความอดทนของคุณก็ได้

พฤติกรรมในห้องสัมภาษณ์มารยาทเริ่มแรกเลยก็คือ ก่อนคุณจะเข้าห้องสัมภาษณ์คุณควรที่จะเคาะประตูซักนิดเพื่อเป็นมารยาท และสำรวมใจเป็นครั้งสุดท้ายเดินเข้าไปด้วยความมั่นใจในตัวเอง หากภายในห้องมีผู้สัมภาษณ์หลายคน คุณควรเดินไปถึงที่โต๊ะแล้วแสดงความเคารพด้วยการไหว้ (หากผู้สัมภาษณ์เป็นคนไทย) ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เป็นประธานจะนั่งอยู่ตรงกลาง ดังนั้น การไหว้จะเรียงรำดับไปจนครบทุกคน แต่หากผู้สัมภาษณ์เป็นคนต่างชาติก็ควรที่จะทำความเคารพด้วยการจับมือ แต่ควรรอให้เขายืนมือมาก่อนจะดีกว่ายื่นมือไปแล้วให้เขามาจับ แต่บางบริษัทที่มีทั้งคนไทยและต่างชาติก็ควรที่จะทำการไหว้ให้หมดทุกคนจะดีกว่า

วันสัมภาษณ์งาน เมื่อทำความเคารพแล้วต้องรอให้ผู้สัมภาษณ์เชิญเรานั่ง แต่ถ้าหากเขาลืมเราก็ขออนุญาตนั่งก็ได้ เมื่อนั่งแล้วก็ควรสำรวมทั้งกาย และวาจา อย่านั่งไขว่ห้าง กระดิกขา ตัวลีบ ตัวงอ หรือนั่งเกร็ง ควรที่จะทำตัวให้ผ่อนคลาย พูดจาไพเราะ มีหางเสียง ยิ้มแย้มแจ่มใส อย่าเคี้ยวหมากฝรั่งหรือถ้าเป็นคนสูบบุหรี่ ก็ควรที่จะสูบก่อนเข้าสัมภาษณ์ซักครึ่งชั่วโมง อย่าสอดแทรกในขณะที่ผู้สัมภาษณ์กำลังพูด ใช้หลักผู้ฟังที่ดีโดยให้ผู้สัมภาษณ์เห็นว่าเราตั้งใจฟังในสิ่งที่เขาพูดจริงๆ

สรุปคือ ในวันสัมภาษณ์ควรที่จะเตรียมตัว เตรียมใจ เตรียมเอกสารทุกชนิดให้พร้อม และจงมีความเชื่อมั่นในตนเองว่า เราก็ไม่ได้น้อยหน้าใคร และระลึกไว้ว่า “ไม่มีใครดูถูกเราได้ นอกจากเราดูถูกตัวเอง”

ที่มา : http://topicstock.pantip.com/silom/topicstock/2007/02/B5151851/B5151851.html

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ได้งานหลายที่ จะเลือกงานไหนดี

คนแบบไหนที่ตลาดงานต้องการ

More from this category: สัมภาษณ์งาน

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สำรวจหัวข้อที่เกี่ยวข้อง

เลือกสิ่งที่สนใจเพื่อเรียกดูอาชีพที่เกี่ยวข้อง

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด