ภาษี e-service กฎหมายใหม่ที่คนทำแพลตฟอร์มออนไลน์ควรรู้

ภาษี e-service กฎหมายใหม่ที่คนทำแพลตฟอร์มออนไลน์ควรรู้
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

เริ่มแล้วสำหรับ ภาษี e-service หรือการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติที่ให้บริการผู้บริโภคในไทย นับว่าเป็นกฎหมายใหม่ที่ผู้ประกอบธุรกิจบนโลกออนไลน์ ผู้ซื้อสินค้าและใช้บริการต้องรู้และเตรียมรับมือให้ดี  เพราะมีโอกาสโดนบวกเพิ่มอีก VAT 7%

ภาษี e-service กฎหมายใหม่ที่คนทำแพลตฟอร์มออนไลน์ควรรู้

ทำความรู้จักกับ ภาษี e-service

ภาษี e-serviceคืออะไร จริง ๆ แล้วเป็นการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) กับผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-service) และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่าง ๆ โดยผู้ให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (e-service) และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มที่มียอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องนำส่ง VAT ให้กรมสรรพากร ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นอัตรา 7% ของราคาค่าบริการ โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2564 เป็นต้นไป

ทำไมประเทศไทยถึงต้องมีภาษี e-service

โลกก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลและเกิดธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์จากบริษัทข้ามชาติที่ให้บริการออนไลน์ในรูปแบบต่าง ๆ  เป็นจำนวนมากในไทย โดยเหตุผลที่กรมสรรพากร ต้องออกกฎหมายฉบับนี้ มีดังนี้

  • แพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติ ไม่ได้เสียภาษีเช่นเดียวกับผู้ประกอบการไทยที่ต้องยื่นภาษีชำระ VAT 7% ดังนั้น ภาษี e-service จึงทำให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างผู้ประกอบการไทยกับผู้ประกอบการจากต่างประเทศ
  • ปัจจุบันมีกว่า 60 ประเทศ ที่ออกกฎหมายเพื่อจัดเก็บ ภาษี e-service ไม่ว่าจะเป็น สิงคโปร์ มาเลเซีย เพื่อให้ผู้ประกอบการต่างชาติต้องจดทะเบียนและเสียภาษี โดยกรมสรรพากรคาดว่าจะสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มได้เพิ่มขึ้น ปีละ 5,000 ล้านบาท

ใครบ้างที่เกี่ยวข้องกับภาษีe-service และต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง

สำหรับการกำหนดวิธีการดำเนินการจัดเก็บภาษี e - Service  ตามที่ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ อธิบดีกรมสรรพากร กล่าวถึงกระบวนการจดทะเบียนในระบบ VES ขั้นตอนการติดต่อระหว่างกรมสรรพากรและผู้ประกอบการจากต่างประเทศ การจัดทำ ส่ง รับ เก็บรักษาเอกสาร การยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบ Internet โดยมีขั้นตอนที่ผู้เกี่ยวข้องต้องดำเนิน ดังนี้

1.ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์จากบริษัทข้ามชาติที่ให้บริการออนไลน์บนแพลตฟอร์มต่าง ๆ

ได้แก่ แพลตฟอร์ม E-Commerce ขายของออนไลน์ แพลตฟอร์มโฆษณายิง Ad เช่น Facebook, Google แพลตฟอร์ม Agency จองที่พัก โรงแรม ตั๋วเดินทาง หรือแม้แต่แพลตฟอร์มตัวกลาง เช่น บริการเรียกรถรับส่ง สั่งอาหาร และแพลตฟอร์มบริการออนไลน์ เช่น เกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น

โดยขั้นตอนนั้นจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านระบบงานภาษีมูลค่าเพิ่ม กรมสรรพากรเปิดระบบให้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ (VAT for Electronic Service : VES) บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ซึ่งแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติสามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2564 เป็นต้นไป

เมื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว กรมสรรพากรจะดำเนินการเผยแพร่รายชื่อผู้ประกอบการ e - Service จากต่างประเทศที่ได้จดทะเบียนแล้วบนเว็บไซต์ของกรมสรรพากรที่ https://eservice.rd.go.th/rd-ves-web/search/company และสามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม พร้อมชำระภาษีเป็นรายเดือน ได้ตั้งแต่วันที่ 1- 23 ในเดือนถัดไป

2.ผู้ใช้บริการแพลตฟอร์มออนไลน์ในเชิงของพาณิชย์หรือ ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจการบนแพลตฟอร์มข้ามชาติ

ในกรณีที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเป็นบริษัทที่จดทะเบียน VAT อยู่แล้วและชำระภาษีเป็นรายเดือน ก็สามารถดำเนินการแจ้งหมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี VAT ให้แพลตฟอร์มจากต่างประเทศเท่านั้น เพื่อที่ทางแพลตฟอร์มจะได้ไม่ชาร์จ VAT เพิ่ม

ส่วนขั้นตอนต่อไปนั้น ให้ดำเนินการยื่นแบบและชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามแบบ ภ.พ. 36 และสามารถนำภาษีมูลค่าเพิ่มตามใบเสร็จรับเงินของกรมสรรพากรมาหักเป็นภาษีซื้อได้เช่นเดิม โดย ผู้ประกอบการ e - Service จากต่างประเทศไม่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีและไม่มีสิทธินำภาษีซื้อมาหักออกจากภาษีขาย

ขณะที่ภาษี e-service ในส่วนของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั่วไป ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับการเก็บภาษี เพราะนโยบายดังกล่าวนี้จะเก็บภาษีมูลเพิ่มเฉพาะแพลตฟอร์มดิจิทัลต่างชาติเท่านั้น

3.ผู้ซื้อสินค้าและบริการจากแพลตฟอร์มต่างประเทศ

ไม่ว่าจะเป็น การซื้อสินค้าผ่านทาง  E-Commerce การจองที่พัก การสั่งอาหาร มีโอกาสที่ต้องจ่ายบริการด้วยการบวก VAT 7% เพราะผู้ประกอบการต่างประเทศที่มีต้นทุนการชำระภาษี VAT 7% เป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจที่จู่ ๆ จะมีค่าบริการเพิ่มขึ้น เช่น เมื่อซื้อสินค้า 100 บาท จะต้องจ่ายเพิ่มเป็น 107 บาท เป็นต้น

สิ่งที่ต้องพึงระวังและปรับเปลี่ยนตอบสนองต่อกฎหมาย

  • ผู้ประกอบการแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ ต้องยื่นคำร้องขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่มีรายรับเกิน 8 ล้านบาท
  • การคำนวณรายรับค่าบริการสำหรับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศที่เป็นนิติบุคคล ให้คำนวณจากรายรับค่าบริการตั้งแต่วันแรกของรอบระยะเวลาบัญชีที่ไม่สิ้น ก่อนวันที่ 1 กันยายน 2564
  • สำหรับผู้ประกอบการแพลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นบุคคลธรรมดาให้คำนวณจากรายรับค่าบริการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เว้นแต่เริ่มประกอบกิจการระหว่างปี ให้เริ่มนับตั้งแต่วันเรื่มประกอบกิจการ
  • การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (P.30.9) พร้อมกับชำระภาษีเป็นรายเดือน โดยให้ดำเนินการผ่านระบบ SVE บนเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ต้องยื่นทุกเดือน ไม่ว่าจะมีรายรับจากการให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่
  • การชำระภาษีสามารถชำระได้ 2 วิธี ด้วยสกุลเงินบาท ผ่านระบบ SVE โดยการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของกรมสรรพากรและชำระด้วยบัตรเครดิต
  • กฎหมาย e-service ไม่ได้ใช้บังคับการสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศทางออนไลน์และนำเข้าผ่านด่านศุลกากรมายังประเทศไทย เนื่องจากได้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าอยู่แล้ว

นี่จึงเป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับบริการทางอิเล็กทรอนิกส์จากต่างประเทศ และอิเล็กทรอนิกส์แพลตฟอร์มต่าง ๆ ควรสนใจศึกษา สำหรับใครที่กำลังมองหางานที่ใช่ หรือมองหาคนที่ใช่สำหรับบริษัทของคุณ สามารถเลือกใช้แพลตฟอร์มหาคนหางานอย่างแอปพลิเคชันJobsDB เพื่อค้นหาคนที่ใช่ให้กับองค์กรของคุณ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/silicon-valley/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%b9%e0%b9%89%e0%b8%88%e0%b8%b1%e0%b8%81-%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b8%87%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%ad%e0%b8%97%e0%b8%b5/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/data-scientist-%e0%b8%84%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%b0%e0%b9%84%e0%b8%a3/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/big-data-analyst/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด