ปิดกิจการชั่วคราว นายจ้างควรทำอย่างไร

ปิดกิจการชั่วคราว นายจ้างควรทำอย่างไร
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

เมื่อ บริษัท ต้องเผชิญวิกฤตการณ์อย่างหนักในการดำเนินกิจการ จนมีเหตุอันควรให้ต้องหยุดกิจการบางส่วน หรือทั้งหมด เป็นการชั่วคราว เช่นประสบภาวะขาดทุน เป็นหนี้ค่าวัสดุ หรือลูกค้ายกเลิกคำสั่งซื้อ ทำให้คำสั่งซื้อลดลง เมื่อ งาน มีน้อย ลูกจ้างมีมาก จึงจำเป็นต้องประกาศหยุดการดำเนิน งาน ชั่วคราวเพื่อแก้ไข คลี่คลายสถานการณ์ให้บรรเทาเบาบางลง ก่อนพร้อมเปิดดำเนินการอีกครั้ง

ในกรณีที่ต้องการปิดกิจการชั่วคราว นายจ้าง ควรทำอย่างไรให้ถูกต้องตาม กฎหมาย เพื่อไม่ให้เกิดการประท้วงของเหล่า พนักงาน ว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากนายจ้าง

  • เหตุที่นายจ้างใช้อ้างในการปิดกิจการชั่วคราว ต้องเกิดจากการประสบปัญหาในการดำเนินการอันเป็นเหตุสมควรให้ต้องปิดกิจการ
  • ตามพ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 กำหนดว่า ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างให้ลูกจ้างหยุด งานชั่วคราว นั้น นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนที่นายจ้างจะหยุดกิจการ
  • หากตรวจสอบพบว่านายจ้างแจ้งเหตุจำเป็นที่ต้องปิดกิจการเป็นความเท็จ ลูกจ้างมีสิทธิฟ้องร้องต่อศาล แรงงาน เพื่อเรียกร้องค่าเสียหาย และสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามข้อตกลงที่นายจ้างให้ไว้ได้
  • การให้ลูกจ้างหยุด งานชั่วคราว ในกรณีนี้ ต้องไม่เลือกปฏิบัติว่าลูกจ้างนั้นเป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่ มิฉะนั้นอาจเข้าหลักเกณฑ์พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ ฯ มาตรา 52 ใน ซึ่งว่าด้วยการคุ้มครองลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างให้พ้นจากการถูกกลั่นแกล้งจากนายจ้าง เพื่อบีบให้ออกด้วยการลดค่าจ้าง ลงโทษ หรือขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ จนลูกจ้างทนไม่ไหว ต้อง ลาออก จาก งาน ในที่สุด ทั้งนี้มาตรา 52 ไม่ได้อยู่ในสถานการณ์ที่นายจ้างประสบวิกฤตการณ์ ในการดำเนินธุรกิจจนต้องหยุดดำเนินการชั่วคราวแต่อย่างใด

ทำอย่างไรเมื่อต้องปิดกิจการชั่วคราว การเลือกใช้วิธีปิดกิจการชั่วคราว เพื่อลดรายจ่ายและหาทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของบริษัทนั้น เป็นทางเลือกหนึ่งที่ดีกว่าการเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดในทันที เนื่องจากการ เลิกจ้าง จะมีความรับผิดชอบตามมาอีกมากมาย ทั้งค่าชดเชย ค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เงินค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ เลิกจ้าง รวมถึงค่าจ้างที่ยังไม่ได้จ่าย ก็ต้องนำมาจ่ายให้ลูกจ้างภายใน 3 วันนับตั้งแต่เลิกจ้างเสียด้วย เพื่อให้ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างทันทีโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า ได้รับการเยียวยาในขณะที่ยังตั้งตัวไม่ได้

ทั้งนี้ การเลิกจ้างมีกระบวนการที่ซับซ้อนมากมาย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อคุ้มครองลูกจ้างไม่ให้ถูกนายจ้างเอาเปรียบ และเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ดังนั้นหากบริษัทประสบปัญหาอย่างหนัก การปิดกิจการชั่วคราวจึงเป็นทางออกหนึ่งที่ยุติธรรมต่อทั้งสองฝ่าย

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด