จ่ายค่ารับรองอย่างไร ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

จ่ายค่ารับรองอย่างไร ไม่ถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ค่ารับรองสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม หากเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวง มาตรา 143 ดังต่อไปนี้

  1. เป็นค่ารับรองตามธรรมเนียมประเพณีทาง ธุรกิจทั่วไป และบุคคลที่ได้รับการรับรองไม่ใช่ลูกจ้างของบริษัท/ห้างหุ้นส่วนจำกัด(หจก.) เว้นแต่ลูกจ้างมีหน้าที่เข้าร่วมการรับรองนั้น
  2. เป็นค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง โดยตรงกับค่ารับรอง เช่น อาหารเครื่องดื่ม ที่พัก ฯลฯ ถ้าให้เป็นสิ่งของ ต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรอง
  3. เป็นการจ่ายเพื่ออำนวยประโยชน์ให้แก่กิจการ
  4. ให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่จ่าย แต่รวมกันไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินรายได้ หรือเงินทุนที่ได้ชำระแล้ว ซึ่งแล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้สูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
  5. ค่ารับรองนั้นต้องมีกรรมการ หรือผู้ที่เป็นหุ้นส่วน ผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นผู้อนุมัติสั่งจ่ายค่ารับรอง และมีหลักฐานการจ่ายประกอบ

อย่างไรก็ตาม ขั้นตอนการวางแผนค่ารับรอง มีดังต่อไปนี้

  1. ค่ารับรอง ต้องมีหลักฐานการจ่ายเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
  2. ต้องระบุได้ว่ามีการพาบุคคลภายนอก ที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยประโยชน์ต่อกิจการไปรับรองด้วย ยกตัวอย่างเช่น ระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรติดต่อไว้ในใบเบิกเงิน หรือใบสำคัญจ่ายด้วย
  3. ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าบุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับกิจการ หรือเอื้อประโยชน์ต่อกิจการอย่างไร??

ที่มา : www.buncheeaudit.com

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด