จะป้องกันการคอร์รัปชั่นในสำนักงานได้อย่างไร

จะป้องกันการคอร์รัปชั่นในสำนักงานได้อย่างไร
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

corruption การคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่พบเห็นกันทั่วไปมานานแล้วและทำกันอย่างแพร่หลาย จนคนชักจะเคยชิน ไม่ว่าในราชการ หรือเอกชน ทั้งในประเทศของเราเอง หรือต่างประเทศ ที่ถูกจับได้ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในศาล จนต้องถูกลงโทษจำคุกก็มีจำนวนมาก ไม่เลือกเพศ อายุ ตำแหน่งหน้าที่

ลักษณะการคอรัปชั่นที่ทำกันแพร่หลาย ก็ได้แก่การติดสินบน และรับสินบนของเจ้าหน้าที่ (Bribery) การละเลยละเว้นไม่ปฏิบัติสิ่งที่ควรทำตามหน้าที่ (Dereliction of duty) การใช้อำนาจหน้าที่เอื้ออำนวยประโยชน์ให้แก่ญาติของตนให้ได้งานทำ (Nepotism) การรายงานเท็จหรือสร้างหลักฐานให้หลงเชื่อสิ่งที่ไม่จริง (Deceitation) สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นได้ เพราะคนยอมรับและผู้เสียประโยชน์ก็ไม่ทักท้วง

คอร์รัปชั่นมีลักษณะคล้ายไฟ ไฟจะติดได้ต้องมีองค์ประกอบสามอย่าง คือ 1) เชื้อเพลิง 2) อ๊อกซิเย่น 3) ประกายไฟ การทุจริตเกิดขึ้นได้เพราะ 1) ความเร้าใจ (Attraction) 2) ข้ออ้างความสมเหตุผล (Rationalization) และ 3) โอกาส (Occasion) หากขาดอย่างใดอย่างหนึ่ง การทุจริตก็จะไม่เกิดขึ้นได้ การติดสินบนจะพบมากที่สุด เพราะทั้งผู้ให้และผู้รับได้ประโยชน์ “ใคร ๆ เขาก็ทำกัน” เป็นข้ออ้างที่ได้ยินอยู่บ่อย ๆ

จะป้องกันคอร์รัปชั่นในสำนักงานได้อย่างไร

1) รวบรวมเรื่องทุจริต และอาชญากรรมที่เกิดขึ้นในสำนักงานทุกเรื่องแล้วจัดลำดับความสำคัญและศึกษาจากที่อื่นว่าเกิดขึ้นในแผนกไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร มีใครเกี่ยวข้องบ้าง

2) ระบุการกระทำที่เป็นการทุจริต โดยตอบคำถามดังนี้

1. ทุจริตในเรื่องอะไร

2. มีใครเกี่ยวข้องกับการทุจริตทั้งผู้ให้ ผู้รับ และคนช่วยเหลือหรือมีส่วนสนับสนุน

3. การทุจริตเกิดในส่วนไหน ในแผนกไหน เช่น แผนกพัสดุ แผนการเงิน ฯลฯ

4. การทุจริตเกิดขึ้นตามรอบบริการ หรือตามระยะเวลาในช่วงเวลาไหน เช่น ในช่วงไตรมาสที่สาม ฯลฯ

5. ปัญหานั้นใหญ่เพียงใด ใช้เวลามากแค่ไหน เสียหายมากเพียงใด และมีแนวโน้มเป็นอย่างไร

3) ความเร้าใจ ให้ทุจริตมากเพียงใด (attraction)

1. ความเร้าใจของผู้ให้ ผู้รับ และคนที่เกี่ยวข้อง คืออะไร

2. ได้ประโยชน์อะไร จากการกระทำเช่นนั้น

3. มีความเสี่ยงที่จะถูกจับได้มากแค่ไหน โทษรุนแรงมากหรือน้อย ถ้าต้องขึ้นศาล

4) ความมีเหตุผลที่อ้าง (rationalizations)

1. จริง จริงครึ่งเดียว หรือไม่จริงเลย เพราะตนเองไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์นั้น

2. ข้ออ้างที่ยกมาแก้ตัวนั้น น่าเชื่อถือแค่ไหน คนในสำนักงานเชื่อและยอมรับหรือไม่

3. อะไรจริง อะไรไม่จริง อะไรเป็นข้ออ้างที่สำคัญ

4. คนไหนเป็นต้นตอของเรื่องที่ไม่จริง จะบอกให้คนอื่นในสำนักงานรู้และเข้าใจได้อย่างไร

5) โอกาสที่จะเกิดทุจริตซ้ำอีก มีแค่ไหน

1. อะไรทำให้คนมีโอกาสจะทุจริต

2. ระบบงาน หรือ ขั้นตอนการทำงานไหนที่มีจุดอ่อนทำให้เกิดทุจริตได้ เช่น ขาดการสอบทาน

6) กำหนดแผนปฏิบัติ (action plan) ป้องกันการทุจริต

1. จะลดความเร้าใจให้ทุจริตลงจนหมดไปได้หรือไม่

2. จะคิดให้รางวัลความซื่อสัตย์อย่างไร ให้มีความหมาย เป็นที่น่าพอใจ ควรแก่การยกย่อง

3. ถ้าไม่ซื่อสัตย์จะให้รับโทษรุนแรงมากขึ้น หรือ ต้องเสี่ยงมากขึ้น ทำให้ไม่น่าสนใจ ได้อย่างไร

4. ข้ออ้างที่ใช้เมื่อทุจริต ทำอย่างไร จึงมีน้อยลง จนหมดไป

5. ทำอย่างไรจะไม่ให้เกิดรายงานเท็จ หรือ ไม่ให้เกิดหลักฐานที่ใช้อ้างเมื่อทุจริต

6. จะปลุกเร้า ความสำนึกเรื่องความสุจริต ความซื่อตรง และความจริงใจให้เกิดในสำนักงานได้อย่างไร

7. จะลดโอกาสที่จะเกิดทุจริตลงให้น้อยจนหมดไปได้อย่างไร

8. จะปรับปรุงระบบงานและลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพื่อเป็นการป้องกันการทุจริต ให้รู้แต่เนิ่น ๆ และแก้ไขให้เร็วที่สุด ทันเวลาก่อนที่จะเกิดความเสียหายรุนแรง

เมื่อเกิดทุจริตขึ้นในสำนักงาน ต้องให้คนทำงานรู้ทั่วกัน ให้รู้ด้วยว่าฝ่ายบริหารเข้มงวดจัดการเรื่องนี้ อย่างไร เพราะถ้าคุณปกปิด ก็จะมีแต่ข่าวลือที่สร้างความลังเลใจ และอาจทำให้อยากลองดู

More from this category: การเป็นผู้นำ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด