กฎหมายแรงงานต้องรู้สำหรับคนทำงาน

กฎหมายแรงงานต้องรู้สำหรับคนทำงาน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

เมื่อเอ่ยถึงกฎหมาย คนทำงานหลายคนจะรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว และไม่ค่อยจะเกี่ยวข้องกับ การทำงาน สักเท่าไรนัก แต่ในความเป็นจริงแล้ว กฎหมายแรงงาน ไม่ใช่เรื่องไกลตัว แต่เป็นเรื่องที่คนทำงานทุกคนต้องรู้ เพราะเราจะได้ปกป้องสิทธิของตนเอง ไม่ให้นายจ้างมาเอารัดเอาเปรียบเราได้

กฎหมายแรงงานที่คนทำ งาน ทุกคนต้องรู้นั้น มีอะไรบ้างที่คนทำงานทุกคนต้องรู้ หากปฏิเสธว่าไม่จำเป็นต้องรู้ ไม่เพียงแต่เราจะคุยกับคนทำงานคนอื่น ๆ ไม่รู้เรื่องเท่านั้น แต่ยังทำให้เราอาจจะต้องเสียสิทธิที่เราควรจะมีไปอย่างง่ายดาย กฎหมายแรงงานพื้นฐานที่คนทำงานควรรู้ มีดังต่อไปนี้

บริษัทสามารถทดลองงานได้นานแค่ไหน

หลายคนจะรู้สึกว่าแต่ละบริษัท ทดลองงาน ไม่เท่ากัน บางบริษัท 3 เดือน แต่บางบริษัท 4 เดือน ในความเป็นจริงแล้วควรเป็นเช่นไรจึงจะเกิดความเป็นธรรมต่อคนทำงาน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานระบุไว้ว่าการทดลองงาน เป็นสัญญาจ้างที่ไม่มีกำหนดระยะเวลา โดยให้สิทธินายจ้างบอกเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ในกรณีที่ทำงานติดต่อกันไม่เกิน 119 วัน หากต้องการเลิกจ้างควรทำในช่วงเวลาดังกล่าว หากเกินในช่วงเวลาดังกล่าว จะเป็นการทำผิดกฎหมายแรงงาน

ลูกจ้างสามารถลาป่วยได้กี่วัน

เมื่อเกิดการเจ็บไข้ได้ป่วย หลายคนจะกังวลว่าจะถูกเพ่งเล็งจากนายจ้าง โดยเฉพาะคนที่เพิ่งทำงานครั้งแรก จะรู้สึกว่าไม่กล้าขอ ลาป่วย กับเจ้านาย กฎหมาย ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้ตามจริง แต่จะได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วันทำงานต่อปี ดังนั้น นายจ้างจึงไม่มีสิทธิหักเงินค่าจ้างในวันที่ลูกจ้างป่วย เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แต่นายจ้างมีสิทธิให้ลูกจ้างแสดงใบรังรองแพทย์ เมื่อลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป

สิทธิในการลาหยุดพักร้อน

คนทำงานที่ทำงานครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ ไม่น้อยกว่า 6 วัน โดยให้นายจ้างเป็นผู้กำหนดวันหยุด หรือตามที่ตกลงกันไว้  และหากว่ายังไม่ได้ใช้วันหยุดในปีนั้น ก็สามารถทำข้อตกลงกันเพื่อสะสม หรือยกวันลาหยุดที่เหลือไปใช้ในปีต่อไปได้  บางบริษัทจะกำหนดให้ลูกจ้างต้องใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้หมดในปีนั้น ๆ หากใช้ไม่หมดให้ถือว่าสละสิทธิ์ ซึ่งไม่ได้ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างไร เพราะเป็นการกำหนดเพื่อให้ลูกจ้างใช้สิทธิให้ครบถ้วนเท่านั้นเอง

นายจ้างมีสิทธิบังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาหรือไม่

การทำงานล่วงเวลา หรือโอที (Overtime) หมายถึงการทำงานในช่วงเวลาพิเศษ ที่นอกเหนือจาก การทำงาน ในช่วงเวลาปกติ และต้องมาจากการทำงานที่เป็นไปด้วยความสมัครใจ นายจ้างไม่มีสิทธิมาบังคับให้ลูกจ้างทำงานโอทีได้ แต่คนสามารถทำงานได้เท่าที่จำเป็น เช่น หากเราไม่อยู่ทำงานต่อ จะทำให้งานนั้นเกิดความเสียหาย หรือไม่สามารถส่งมอบงานนั้นให้ลูกค้าได้ทันเวลา เราก็อาจจะต้องเสียสละเวลาสักเล็กน้อย เพื่อทำงานชิ้นนั้นให้เสร็จสิ้น ในลักษณะนี้แล้วไม่ถือเป็นการบังคับ แต่เป็นความสมัครใจที่คนทำงานต้องให้ความร่วมมือ

เงินชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง

หากคนทำงานต้องถูก เลิกจ้าง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตาม คนทำงานจะได้รับความคุ้มครอง และชดเชยค่าเสียหาย โดยมีรายละเอียดดังนี้

  1. กฎหมายแรงงานต้องรู้ ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี คนทำงานจะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
  2. ทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี คนทำงานจะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
  3. ทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี คนทำงานจะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
  4. ทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี คนทำงานจะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  5. ทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป คนทำงานจะได้รับเงินชดเชยเท่ากับอัตราค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน


การรับรู้ถึงสิทธิที่คนทำงานควรจะได้รับเบื้องต้น ไม่เพียงแต่จะทำให้เราได้รับความคุ้มครองทางกฎหมาย แต่ยังช่วยให้เราได้เรียนรู้สิทธิและหน้าที่ในการทำงานอีกด้วย เพราะหากเราไม่รู้เรื่องราวเหล่านี้ จะทำให้เราไม่สามารถเข้าใจได้ว่าเหตุผลเราจึงต้องทำตามกฎเกณฑ์ และมีสิ่งใดบ้างที่เราไม่สามารถทำได้

ภาพประกอบโดย stockimages เว็บไซต์ freedigitalphotos.net

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

กฎหมายคนทำงาน

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับภาษีของคนทำงาน

More from this category: การเป็นผู้นำ

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด