ออฟฟิศที่ทำงาน อาคารสำนักงาน หรือโรงงาน เป็นที่ที่ถูกเรียกรวม ๆ ว่า สถานที่ทำงาน ซึ่งนอกจากตัวอาคารแล้วยังจะต้องมีระบบต่าง ๆ ทั้งไฟฟ้า ประปา เพื่อให้สามารถเข้าไปทำงานได้จริง เมื่อนานวันเข้าระบบภายในรวมถึงตัวโครงสร้างอาคารก็จะต้องมีการเสื่อมถอยไปตามการเวลา จึงทำให้มีอาชีพหนึ่งที่มักไม่ค่อยคุ้นหู แต่เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพจำเป็นที่จะขาดไปไม่ได้ ทำหน้าที่เข้ามาดูแลความเรียบร้อยต่าง ๆ ของอาคารและสถานที่ทำงาน อาชีพนั้นก็คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือ เรียกย่อ ๆ ว่า “จป.”
จป. คือใคร
จป. หรือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ในการทำงานวิชาชีพ ที่มีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของระบบต่าง ๆ ในอาคาร ทั้งระบบประปา ระบบไฟฟ้า ระบบลิฟต์ หรือแม้แต่การตรวจสอบโครงสร้างอาคารว่ายังแข็งแรงดีอยู่ไหม เพื่อป้องการไม่ให้เกิดอุบัติเหตุและมีข้อกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่าสถานที่ทำงานต้องมีมาตราฐานความปลอดภัยตามข้อกำหนด ซึ่ง จป. จะเข้ามาดูแลในส่วนนี้โดยตรง ซึ่งมีการแบ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานออกเป็น 5 ระดับ
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร (Safety Officer Management Level)
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน (Safety Officer Supervisory Level)
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค (Safety Officer Technical level)
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง (Safety Officer Advanced Technical Level)
- เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ (Safety Officer Professional Level)
โดยตำแหน่ง จป. ที่เข้าขั้นผู้เชี่ยวชาญที่จำเป็นต้องผ่านการอบรบจากกระทรวงแรงงานมาเป็นพิเศษก็คือ “จป. เทคนิค” เป็นต้นไป
จป. เทคนิค คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับหัวหน้างาน ที่บริษัทส่งไปอบรมเพื่อเป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับเทคนิคเพิ่มเติมตามที่กฎหมายกำหนด มักพบในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คน แต่ไม่เกิน 50 คน โดย จป. เทคนิค จะทำหน้าที่ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายความปลอดภัย ตรวจสอบ วิเคราะห์ และจัดทำรายงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของสถานที่ประกอบกิจการ ชี้ให้เห็นถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงตรวจสอบให้ลูกจ้างปฏิบัติตามข้อบังคับความปลอดภัยที่วางไว้ด้วย ซึ่งตำแหน่งนี้จัดว่าเป็นตำแหน่งเงินเดือนดีอีกหนึ่งตำแหน่ง และแม้ต้องทำงานเอกสารบ้าง แต่ก็ยังมีงานภาคสนามที่ต้องออกไปลุยเอง
อยากเป็น จป. เทคนิคต้องเตรียมตัวอย่างไร
- มีประสบการณ์ในการเป็น จป. หัวหน้ามาก่อน ต้องผ่านการขึ้นทะเบียนและมีเลขทะเบียน จป. หัวหน้างาน ถึงจะสามารถเข้าอบรมได้
- ผ่านการฝึกอบรมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงแรงงานกำหนด
- จบการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับปริญญาตรีสาขาอาชีวอนามัย หรือเทียบเท่า
หากมีคุณสมบัติข้อใดข้อหนึ่งข้างบนแล้ว ก็จะทำให้นายจ้างสามารถแต่งตั้งให้เป็น จป. เทคนิคได้ เรียกได้ว่าเป็นความก้าวหน้าในอาชีพการงานสาย เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย วิชาชีพเลยทีเดียว ซึ่งถ้าหากเคยเป็น จป. เทคนิคมาแล้ว ก็จะสามารถหางาน จป. เทคนิคในบริษัทต่อไปได้ง่ายขึ้น และยังสามารถพัฒนาตัวเองไปเป็น จป. ในระดับอื่น ๆ ได้ด้วย
ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android
เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า
เส้นทางสายอาชีพของช่างยนต์
เรียนโลจิสติกส์ สายอาชีพสุดอินเทรนด์ ที่เป็นมากกว่าการขนส่ง
Checklists สิ่งที่ควรเตรียมตัวก่อน เลือกเรียนสายอาชีพ
วิธีควบคุมค่าใช้จ่ายด้านความปลอดภัยระบบในยุครัดเข็มขัด
เรียนต่อสายอาชีพ มีสาขาอะไรบ้าง เลือกอย่างไรให้ตรงใจ