เด็ดโดนใจ! โลกเปลี่ยนไป วิธีสมัครงาน แบบไหนถึงโดนใจ HR

FacebookLineTwitterLinkedInEmailCopy LinkPrint

             ใครที่กำลังมองหางานใหม่ หรือวางแผนจะสมัครงาน วันนี้ JobsDB มีสรุปการแบ่งปันความรู้เรื่อง วิธีสมัครงาน การเตรียมเอกสารสมัครงาน และเข้ารับการสัมภาษณ์งาน จากคุณปณัสย์ ลิมปกาญจน์ และคุณนรเศรษฐ์ ปรัชญากร ผู้ก่อตั้งบริษัท The Hunters มาฝากทุกคนกัน

วิธีสมัครงาน

เทคโนโลยีที่ช่วย HR เลือกคนทำงาน

             บริษัทใหญ่ ๆ มักมีจำนวนคนที่สนใจสมัครงานจำนวนมาก เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือ HR จึงต้องมีตัวช่วย นอกจากการใช้เทคนิคการอ่านอย่างรวดเร็ว เพื่อคัดกรองคุณสมบัติผู้สมัครจากหน้าเอกสาร Resume หรือ CV โดยมองหาทักษะหลักที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานแล้ว เทคโนโลยีก็เข้ามามีบทบาทในขั้นตอนการคัดเลือกผู้สมัครด้วยเช่นกัน โดยโปรแกรมในลักษณะของ Application Tracking System จะคัดกรอง Resume/CV จากคีย์เวิร์ดที่เขียนไว้ ทำให้จำนวนใบสมัครที่ HR ให้ความสนใจและติดต่อกลับเพื่อขอสัมภาษณ์มีปริมาณที่ลดลง

             วิธีสมัครงาน ด้วยการใช้เทคโนโลยีเช่นนี้ ช่วยให้กระบวนการคัดเลือกคนของบริษัทมีประสิทธิภาพมากขึ้น เจ้าหน้าที่ HR ใช้เวลาเร็วขึ้นเพื่อหาคนที่ใช่ เพื่อให้ขั้นตอนสุดท้ายอย่างการสัมภาษณ์งานเป็นขั้นตอนที่มั่นใจได้ว่า เราจะค้นพบคนที่ใช่สำหรับงานของเรา แต่กระบวนการทำงานด้วยเทคโนโลยีเช่นนี้ก็อาจเป็นเรื่องที่ทางผู้สมัครงานหลายท่านไม่ได้คาดคิดเอาไว้ และนั่นคือสาเหตุที่อาจทำให้เราหมดสิทธิ์เข้าร่วมชิงตำแหน่งนี้ตั้งแต่ขั้นตอนการเริ่มต้นส่งเอกสารเพื่อสมัครงาน

 

คว้าโอกาสไว้ ใช้เทคโนโลยีให้เป็น

             หากรู้ไม่เท่าทันเทคโนโลยี ผู้สมัครมักเลือกใช้ภาพกราฟิกแทนที่การเขียนบรรยาย เช่น ต้องการสื่อสารว่าตนเชี่ยวชาญการสื่อสารภาษาจีนโดยใช้ภาพธงชาติประเทศจีน ตัว Resume/CV อาจจะดูสวยงาม แต่อาจจะทำให้โปรแกรมไม่ได้คัดผู้สมัครงานอยู่ในกลุ่มเป้าหมายของ HR หรืออีกรูปแบบหนึ่งของความผิดพลาดที่พบเห็นได้บ่อย ๆ คือใส่ภาพกราฟิกที่แสดงถึงระดับของทักษะในการทำงานเป็นแถบพลัง ภาพดูเท่ห์ แต่จะไม่สอดคล้องกับการทำงานของโปรแกรม และถือว่าไม่ใช่การสื่อสารที่ชัดเจนในมุมมองของ HR อีกด้วย

             ถ้ารู้เช่นนี้แล้ว ในการเตรียม resume/CV แต่ละครั้ง ควรเน้นเขียนทักษะที่เหมาะสมกับคำอธิบายคุณสมบัติ (Job Description) ใช้คำศัพท์ที่แสดงระดับทักษะให้ตรงกับสิ่งที่สื่อ เช่น คล่องแคล่ว ดีมาก หรือพอใช้ คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปล้วนเพิ่มโอกาสที่จะได้งานซึ่งเหมาะสมกับทักษะหรือประสบการณ์

 

Resume ที่โดนใจ HR ในสายเทคโนโลยี

         นอกจากการใส่ใจคีย์เวิร์ด ผู้สมัครจะต้องขายตัวเองเป็นผ่าน Resume/CV โดยออกแบบให้ทั้งโปรแกรมคัดกรอง และ HR สังเกตเห็นรายละเอียดที่น่าสนใจใน Resume หรือ CV ของเรา ดังนี้

  1. ระบุรายละเอียดโครงการที่เคยมีส่วนร่วม หรือทำจนเสร็จสิ้น มีการระบุชื่อโครงการที่ทำและลูกค้าหรือนายจ้างที่ชัดเจน เช่น กรณีเป็น IT Consultant อาจจะอยู่ภายใต้สังกัดบริษัท หรือเป็นการรับงานเป็นงาน ๆ ไปก็ตาม จะต้องระบุไล่ไป และมีรายละเอียดสิ่งที่ทำพอสังเขป ให้ทาง HR เห็นว่าหากรับเข้าไปทำงานแล้ว ทางผู้สมัครจะเป็นกำลังให้กับทีมได้

             กรณีที่ทำโครงการให้กับบริษัทหลากหลาย ย่อมสะท้อนให้ HR เห็นว่าเป็นคนที่มีความเข้าใจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ และมีความยืดหยุ่นในการนำทักษะหรือความรู้ที่มีไปใช้กับงานที่พื้นฐานของอุตสาหกรรมแตกต่างกัน โดยในการเตรียม Resume/CV ควรจะเลือกเอาโครงการในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกับที่ส่งใบสมัครขึ้นมาอยู่ส่วนบนของเอกสาร ยิ่งทำให้ HR สังเกตเห็นได้ง่ายว่าเหมาะสมกับงาน จะยิ่งมีโอกาสถูกเรียกสัมภาษณ์สูง

  1. ระบุชื่อ Program หรือภาษาที่ใช้นการโปรแกรมมิ่งให้ชัดเจน พร้อมบอกระดับความเชี่ยวชาญในการใช้งาน
  2. ระบุใบประกาศนียบัตรที่ได้รับ ในวงการเทคโนโลยีมีสิ่งใหม่ ๆ ให้เรียนรู้เสมอ ถ้าได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มาก็ควรจะอัพเดตเอาไว้ใน Resume/CV เพราะไม่ใช่เพียงแค่เป็นการยืนยันทักษะที่มี แต่ยังสะท้อนด้วยว่าเป็นคนที่คอยเกาะติดกระแสและแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์กับการทำงาน

             สำหรับผู้สมัครงานหน้าใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่คือบัณฑิตที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา อาจจะกังวลใจเรื่องประสบการณ์ว่าจะสู้ผู้สมัครงานท่านอื่นไม่ได้ แต่ตำแหน่งงานสำหรับคนที่จบมาใหม่ บริษัทมักจะไม่ได้คาดหวังประสบการณ์ที่สูง คู่แข่งมักจะไม่มีประสบการณ์ หรือเป็นผู้มีประสบการณ์ประมาณ 1-2 ปี จึงไม่ควรกังวลไปล่วงหน้า หากเรามีทักษะตรงกับงานที่ต้องการสมัคร ก็มั่นใจได้ว่า เราเป็นคนที่ HR เองก็ต้องการตัว งานบางอย่างต้องการคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมริเริ่มสิ่งใหม่ หรือไม่ต้องการคนในระดับมืออาชีพ คนที่มีทักษะในระดับพอทำได้ก็เพียงพอแล้ว เพื่อให้คนที่เข้ามาทำงานมาพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอีก งานบางงาน การที่เป็นมือใหม่หรือไร้ประสบการณ์ก็เป็นความได้เปรียบในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองต่อไป

             รูปแบบของ Resume/CV ไม่ใช่เรื่องการนำเสนอกราฟิกให้สวยงาม แต่เป็นการนำเสนอแบบมืออาชีพ มีระเบียบ ดูสะอาดตา หากใส่รูปภาพมาก็ควรเป็นรูปภาพที่แสดงถึงความเป็นมืออาชีพ สามารถที่จะสร้างความแตกต่างให้ตัวเองได้ด้วยภาพกราฟิก แต่ควรจะเลือกมาใส่ให้เหมาะสม สิ่งสำคัญคือต้องทำให้ Resume/CV ทำงานกับ Application Tracking System ได้

             นอกจากนี้ ผู้สมัครควรต้องระบุวัตถุประสงค์ในการทำงาน (Career Objective) หรือเป้าหมายที่จะเติบโตในสายงานเอาไว้ แสดงให้บริษัทเห็นว่า เรามีความเหมาะสมและต้องการงานนี้จริง ๆ โดยเฉพาะหากเราเรียนมาในสาขาที่สามารถเลือกงานได้กว้างหรือหลากหลาย หรือเปลี่ยนสายงานมา เพราะจะทำให้ HR มั่นใจว่าเราสนใจในตำแหน่งงานนั้น ๆ จริง ไม่ใช่การหว่านใบสมัครไว้ก่อนอย่างไม่จริงจัง

 

ไม่จำเป็นต้องมี Resume/CV แค่รูปแบบเดียว

             เนื่องจากทักษะของคนมีความหลากหลาย ดังนั้นคนหนึ่งคนอาจเหมาะกับหลายตำแหน่ง และไม่ได้มีบริษัทเดียวที่เปิดรับ หรือไม่ได้มีบริษัทเดียวเป็นตัวเลือกของผู้สมัคร วิธีสมัครงาน ด้วยการใช้ Resume/CV เพียงแค่ฉบับเดียวสำหรับทุกตำแหน่ง และทุกบริษัท จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดีต่อผู้สมัคร เพราะในแต่ละงาน ทั้งโปรแกรมคัดกรองและ HR ต่างก็มองหาทักษะที่แตกต่างกัน ดังนั้นการรู้จักปรับเปลี่ยน Resume/CV ให้สอดคล้องกับคุณสมบัติของตำแหน่งที่ HR มองหาจึงเป็นเรื่องที่ควรทำอย่างยิ่ง

             ผู้สมัครหนึ่งคน สามารถมี Resume/CV หลายใบ ไม่ใช่การทำไปเรื่อย ๆ แบบไม่มีจุดยืน สิ่งที่ต้องทำคือ ให้ยกเอาทักษะและประสบการณ์ที่มีความสำคัญมาไว้ส่วนบนของ Resume/CV เพื่อให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน เช่น เคยทำโครงการทั้งในสายธนาคารและ FMCG พอยื่นใบสมัครกับธนาคารก็ควรเลือกนำทักษะและประสบการณ์ที่สอดคล้องกับการทำงานธนาคาร และตรงกับคุณสมบัติในประกาศรับสมัครงานขึ้นมาก่อน หรือเน้นให้เป็นส่วนสำคัญ แต่ถ้าหากเราต้องการยื่นสมัครกับธุรกิจสาย FMCG ก็ทำตรงกันข้าม และตัดรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานทิ้งไป

             การใส่คีย์เวิร์ดสำคัญเสมอ อ่านให้ดีว่าคุณสมบัติของตำแหน่งที่ต้องการมีคำไหน ให้เลือกใช้คำนั้น เช่น ถ้าในประกาศรับสมัครงาน ระบุว่า ต้องการคนที่มีทักษะการนำเสนอ (Presentation Skill) ก็ควรใส่คำนี้ลงไปในใบสมัคร พร้อมกับอธิบายประสบการณ์ที่สอดคล้องกัน หรือใส่ชื่อโครงการที่แสดงให้เห็นว่าเรามีการใช้ทักษะนั้นอย่างเห็นได้ชัด หรือการใส่คำว่า มีภาวะผู้นำ (Leadership) ลงไป พร้อมกับระบุชื่อโครงการหรือประสบการณ์ที่สอดคล้องว่าเคยใช้ความเป็นผู้นำ เป็นต้น

 

Resume/CV เน้นคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ

         หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่า Resume/CV ควรนำเสนอให้จบในหน้าเดียว ซึ่งที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องจบภายในหน้าเดียวก็ได้ ขอแค่ไม่ยาวเกินไปจนทำให้Resume ของเราไม่น่าสนใจก็พอ เพราะอาจจะทำให้ทักษะและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานไม่โดดเด่น จำนวนหน้าที่เหมาะสมไม่ควรเกินสามหน้ากระดาษ สำหรับสายงานเทคโนโลยี Resume/CV อาจยาวมากกว่าหนึ่งหน้า เพราะต้องใส่รายละเอียดของโครงการที่เคยทำเป็นจำนวนมาก

 

การสัมภาษณ์ให้ได้งาน

             ปัจจุบันหลายบริษัทนิยมสัมภาษณ์งานผ่านทางไลฟ์ หรือวีดีโอคอล แทนการสัมภาษณ์ที่บริษัท ทาง HR มักจะพิจารณาการนำเสนอตัวเองของผู้สมัคร ดังนั้นผู้สมัครควรเตรียมตัว ฝึกซ้อมการเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง เพื่อให้สามารถสื่อสารออกมาได้ดูดีและตรงจุด ในการสมัครงาน คนที่นำเสนอตัวเองได้ดีนั้น จะยิ่งทำให้ HR รู้สึกสนใจ และมองว่าคนคนนี้น่าจะเป็นคนที่เหมาะสมกับงาน แต่ไม่ใช่ว่าทุกตำแหน่งต้องการคนที่พูดเก่ง เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การนำเสนอคุณสมบัติที่ทำให้ HR รู้ว่าผู้สมัครเหมาะสมกับตำแหน่ง

             คำถามสัมภาษณ์ นอกจากการแนะนำตัวแล้ว ก็มักจะเป็นคำถามประเมินทักษะซึ่งไม่ใช่คำถามที่ตรงไปตรงมา เช่น การถามถึงเหตุการณ์ในอดีตว่าเคยมีเรื่องที่ไม่เห็นด้วยกับทีมหรือไม่ และมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร หรือถามถึงประสบการณ์อื่น ๆ ให้ยกตัวอย่างอธิบายประกอบ เพื่อดูความสอดคล้องกับทักษะที่นำเสนอไว้ใน Resume

             คำถามที่ไม่ตรงไปตรงมานั้น หลายครั้งเป็นการถามถึงสิ่งที่ไม่มีอยู่ใน Resume/CV หรือถามถึงช่วงเวลาในการทำงานที่หายไป เช่น เหตุผลที่เปลี่ยนงานบ่อย การอยู่ในตำแหน่งงานหนึ่งเป็นเวลานานแต่ไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง หรือช่วงเวลาที่ไม่ได้ระบุใน Resume/CV ผู้สมัครจึงควรเตรียมตัวตอบคำถามเหล่านี้เอาไว้ด้วย การทำความเข้าใจสิ่งที่ HR ต้องการจากตัวผู้สมัคร ด้วยการอ่านคุณสมบัติที่ประกาศรับสมัคร และการทำการบ้าน ฝึกซ้อมตอบคำถาม ค้นหาข้อมูลของบริษัท หรือฝึกเล่าประสบการณ์ของตนเอง เป็นวิธีการช่วยให้ผู้สมัครประสบความสำเร็จในการสัมภาษณ์งาน

             นอกจากนี้ คุณปณัสย์ และ คุณนรเศรษฐ์ ยังได้เสริมอีกด้วยว่า ผู้สมัครควรจะเป็นตัวของตัวเองขณะเข้ารับการสัมภาษณ์ เพื่อให้ HR ประเมินอย่างถูกต้อง ขณะเดียวกัน ประเด็นเรื่องเงินเดือนและสวัสดิการควรจะถูกพักไว้ก่อน เพราะว่าผู้สัมภาษณ์อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการจัดการส่วนนั้นโดยตรง เช่น หัวหน้าทีม หรือผู้บริหาร และกรณีที่ได้รับการตอบรับทำงาน แต่ต้องการเลือกงานอีกที่ สิ่งที่ควรทำคือการโทรศัพท์ไปแจ้ง HR ที่รับเข้าทำงานแล้วให้เร็วที่สุด และตามด้วยการส่งอีเมลแสดงความขอบคุณที่เคยได้รับโอกาสจากบริษัท เพราะนั่นแสดงถึงความเป็นมืออาชีพในโลกของการทำงาน และหากมีโอกาสที่จะต้องพบเจอ HR หรือสมัครงานในบริษัทเดิมอีกครั้ง ผู้สมัครอาจเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ได้รับการเรียกสัมภาษณ์ เพราะเป็นที่จดจำได้ถึงความเป็นมืออาชีพนั่นเอง

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เทมเพลตเรซูเม่ฟรี ที่จะช่วยให้การสมัครงานของคุณโดดเด่นโดนใจ HR

เรซูเม่สมัครงาน สายไอที ควรมีอะไรบ้าง

15 เทคนิค presentation skill เปลี่ยนพรีเซนต์สุดป่วย ให้กลายเป็นพรีเซนต์สุดปัง

ลาออกบ่อย ๆ มีผลต่อการสมัครงานใหม่จริงหรือไม่

คำถามที่พบบ่อยสำหรับผู้สมัครงาน
บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023เด็ดโดนใจ! โลกเปลี่ยนไป วิธีสมัครงาน แบบไหนถึงโดนใจ HR

ไม่ว่าจะอยู่ในโลกของการทำงานหรือชีวิตส่วนตัว มนุษย์ทุกคนล้วนตั้งเป้าหมายให้กับตัวเองกันแทบทั้งนั้น แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราสา...
สำหรับคนที่เรียนสายศิลป์มา เมื่อต้องก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย อีกหนึ่งคณะที่หลายคนใฝ่ฝันคงหนีไม่พ้น “คณะมนุษยศาสตร์” ซึ...
เชื่อว่าในแวดวงชาวออฟฟิศช่วงหลังมานี้ ต้องเคยได้ยินเรื่อง Work Life Balance ผ่านหูกันอยู่บ้าง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเทรน...

คำค้นหายอดนิยม

Scroll to Top