อย่ากลัวที่จะผิดพลาด “กล้าลองผิดลองถูก” เทคนิคพาองค์กรออกนอกกรอบ

FacebookLineTwitterLinkedInEmailCopy LinkPrint

           หลายครั้งที่การค้นพบที่ยิ่งใหญ่ และการประดิษฐ์นวัตกรรมเปลี่ยนโลก เกิดจาก “ความสงสัยใคร่รู้” เริ่มตั้งแต่การที่มนุษย์ค้นพบการจุดไฟ ไปจนถึงการสร้างรถยนต์ที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตัวเอง แต่ความสงสัยใคร่รู้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะหากไม่มี “ความคิดที่กล้า ลองผิดลองถูก” ก็ไม่อาจสร้างสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมพลิกโลกนี้ได้เลย และการลองผิดลองถูกนี้เอง ที่จะเป็นอีกหนึ่งเทคนิคสำคัญในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ช่วยขนาดขีดสามารถของพนักงาน และสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่สร้างผลกำไรแล้วพาบริษัทไปสู่ความสำเร็จ

อย่ากลัวที่จะผิดพลาด "กล้าลองผิดลองถูก" เทคนิคพาองค์กรออกนอกกรอบ

           เวิร์คพอยท์ บริษัทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ที่มีรายการเกมส์โชว์ที่ประสบความสำเร็จระดับ Talk of the town มากมาย เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการนำวัฒนธรรมกล้าลองผิดลองถูกไปใช้กับองค์กร โดยที่แต่ละโปรเจกต์จะต้องมีการทดลอง ทดสอบตลาดก่อนออกสู่สายตาประชาชนเสมอ โดยไฮไลต์สำคัญคือการกำหนดไว้ก่อนเลยว่าจะยอมขาดทุนกับโปรเจกต์นี้เท่าไหร่ และถ้าไปต่อไม่ได้ก็ต้องกล้ายอมรับ และพร้อมปรับตัวและเปลี่ยนแผนอย่างรวดเร็วเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายที่มากกว่านี้

           จุดแข็งอีกข้อที่ทำให้เวิร์คพอยต์สามารถสร้างวัฒนธรรมนี้ให้เกิดขึ้นได้จริงในองค์กรก็คือ การทำเป็นตัวอย่างของผู้บริหาร โดยที่ทุกครั้งผู้บริหารจะเข้าไปมีส่วนร่วมลงมือทำ เพื่อเป็นตัวอย่างและทำให้พนักงานรู้สึกอยากมีส่วนร่วม พร้อมที่จะกล้าลองผิดลองถูกไปพร้อมกัน ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือรายการเกมส์โชว์ที่มีแนวคิดแปลกใหม่และกลายมาเป็นกระแสให้คนในสังคมได้พูดถึงอยู่เสมอ

           แม้การสร้างวัฒนธรรม “กล้า ลองผิดลองถูก” หรือ Experimentation culture ในองค์กรจะเป็นเรื่องดี แต่ก็ไม่ควรทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า ไม่ใช่การปล่อยให้ลองผิดลองถูกทำงานยังไงก็ได้ เพราะการตั้งคำถามเป็นสิ่งสำคัญมาก การตั้งคำถามที่ถูกต้องจะนำไปสู่คำถามที่สามารถสร้างประโยชน์ได้มากมาย ทำให้แก่นแท้ของวัฒนธรรมองค์กรแบบลองผิดลองถูก คือ การทดสอบด้วยการตั้งสมมติฐานโดยมีขั้นตอนแบบงานวิจัย นั่นคือ จะต้องมีการตั้งสมมติฐานขึ้นมาก่อน มีการกำหนดองค์ประกอบในการทดสอบ มีกรอบเวลาที่ชัดเจน จากนั้นนำมาคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ

 

           นอกจากนี้ยังมีวิธีที่จะช่วยให้สามารถสร้างวัฒนธรรมกล้าลองผิดลองถูกให้เป็นจริงขึ้นได้ในองค์กร ดังนี้

  1.     สร้างระบบที่เอื้อต่อการลองผิดลองถูก

           บริษัทส่วนใหญ่มักมีการกำหนด KPIs เพื่อเป็นการวัดผลการทำงานของพนักงาน ซึ่ง KPIs ที่เคร่งครัดเกินไปอาจเป็นปัจจัยที่ทำให้วัฒนธรรมกล้าลองผิดลองถูกไม่เกิดขึ้นในองค์กร เราไม่ได้บอกให้ยกเลิก KPIs แต่อยากให้ลองเพิ่มตัวช่วยใหม่อย่าง Flexible Performance Management หรือ Flexible Goal Setting เข้าไปเสริมพร้อม ๆ กับการลดความเคร่งครัดของการวัดผลแบบ KPIs ลง

           เพราะหลายงานวิจัยพบว่า Flexible Performance Management สามารถตอบสนองต่อความเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วได้ดี ซึ่งเหมาะกับสภาพการทำงานที่มีปัจจัยภายนอกที่คาดไม่ถึงเข้ามารบกวนธุรกิจ เช่น Covid-19 เพราะสิ่งเหล่านี้มักเข้ามาเป็นตัวแปรสำคัญที่อาจทำให้เป้าหมาย และตัววัดผลต่าง ๆ ผิดไปจากเดิม ทำให้การวัดผล KPIs แบบเดิม ๆ จะทำให้ไม่สามารถปรับแผนธุรกิจ แก้ไขปัญหาได้ทันเวลา

           หากเราผ่อนคลาย KPIs ลงบ้างแล้วไปโฟกัสที่การปรับตัวและตั้งเป้าหมายวัดผลใหม่ ๆ ให้ทันต่อสถานการณ์ ก็จะเป็นตัวช่วยที่ดีที่จะทำให้วัฒนธรรม Experimentation เกิดขึ้นในองค์กรได้จริง

 

  1.     ปลูกฝังแนวคิด A/B Testing

           A/B Testing คือ การทำ research เพื่อทดสอบว่าองค์ประกอบแบบไหนสร้างประสบการณ์การใช้งานให้กับ user ได้ดีที่สุด วิธีการนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับบริษัท Tech startup เพราะเป็นวิธีที่ส่วนมากใช้ทดสอบระบบและ application อยู่แล้ว แต่นี่จัดเป็นอีกหนึ่งวิธีการที่ดีจะสามารถเอามาปรับใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมกล้าลองผิดลองถูกให้เกิดขึ้น

           วิธีนี้จะช่วยกำหนดองค์ประกอบในการทดสอบ มีการแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานหรือกลุ่มเป้าหมายออกเป็นกลุ่ม ๆ แล้วให้ผู้ใช้งานได้มีลองใช้ app ที่หน้าตาไม่เหมือนกัน จากนั้นเก็บผลทดสอบว่า user ชอบประสบการณ์แบบไหนมากกว่ากัน

           วิธีนี้จะทำให้รู้ได้ทันทีว่าองค์ประกอบไหนไม่เวิร์ค แต่การทำ A/B Testing ก็จำเป็นจะต้องมีมาตรฐานที่เคร่งครัด เช่น การควบคุมตัวแปรที่แน่นอน ใช้ผู้วิเคราะห์ข้อมูลมีที่มีทักษะเชิงวิจัย และจำเป็นจะต้องตั้งสมมติฐานที่ดีก่อนการทำทดสอบด้วย

           ถ้าสามารถเอาแนวคิด A/B Testing ไปประยุกต์ใช้ได้ก็จะทำให้องค์กรมีวัฒนธรรมกล้าลองผิดลองถูกที่แข็งแกร่ง มีหลักการและกระบวนการคิดและปฏิบัติที่ชัดเจน ส่งผลให้รู้เท่าทันและสามารถปรับตัวได้ไวเมื่อเกิดวิกฤต และยังช่วยทำให้สินค้าและบริการของบริษัทเป็น “ที่รัก” ของผู้บริโภค มากกว่าที่จะเป็นแค่สินค้าที่ “ชอบ” เท่านั้น

           หากอยากให้องค์กรของคุณเป็นองค์กรที่เต็มไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ มุ่งหวังพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ให้ถูกใจผู้บริโภค ส่งเสริมกระบวนการทำงานของคนในบริษัท ก็ต้องกล้าที่จะเสี่ยง กล้าที่จะล้ม และส่งเสริมให้คนในองค์กรของคุณกล้าไปพร้อม ๆ กับคุณ เพราะล้มเร็วลุกเร็ว ย่อมได้เรียนรู้และพัฒนาเร็ว โอกาสที่จะประสบความสำเร็จมักเป็นของคนที่พร้อมล้ม กล้าลอง กล้ายอมรับความผิด และกลับตัวได้ไว้อยู่เสมอ

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) แบบไหนที่คนรุ่นใหม่กำลังมองหา

ก้าวสู่วัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ Digital Organization

Eisenhower Matrix เทคนิคบริหารจัดการเวลาแบบประธานาธิบดี

ทำงานผิดพลาด ไม่ใช่เรื่องผิด! วิธีบริหารจัดการทีมงานเมื่อผลงานไม่เป็นไปอย่างที่หวัง

Micro management บริหารงานอย่างไรให้ได้ใจลูกน้อง เปลี่ยนงานพังให้เป็นงานปัง
บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023อย่ากลัวที่จะผิดพลาด “กล้าลองผิดลองถูก” เทคนิคพาองค์กรออกนอกกรอบ

นอกจากภาษีที่ผู้มีรายได้ตามเกณฑ์จะต้องถูกหักทุกเดือนแล้ว เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมก็เป็นอีกหนึ่งรายจ่ายที่ชาวออฟฟิศห...
งานอดิเรกเป็นการสร้าง Work-life balance ที่ดีทางหนึ่ง เมื่อเราใช้เวลาว่างกับสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นถักโครเชต์ ทำงานศิลปะ...
พนักงานยุคใหม่ที่มีคุณลักษณะแบบผู้ประกอบการ หรือ Intrapreneur คือพนักงานที่ทุ่มเททำงาน มีทักษะและความสามารถ มีจิตวิญญาณแ...

คำค้นหายอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
Scroll to Top