ระดับตำแหน่งงานที่คุณทำอยู่ มีความสุขในการทำงานมากแค่ไหน

ระดับตำแหน่งงานที่คุณทำอยู่ มีความสุขในการทำงานมากแค่ไหน
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

กว่าครึ่งชีวิตของคนเราในปัจจุบัน ใช้ชีวิตไปกับการทำงาน เพราะงานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข ประโยคเด็ด วลีดังนี้ ยังคงใช้ได้ทุกยุคทุกสมัย เงินเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ดังนั้นการหารายได้เพื่อเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวด้วยการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญในชีวิต การทำงานที่ดี มีตำแหน่งงานที่สูงสามารถบ่งบอกถึงคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในปัจจุบันและอนาคต จึงเป็นเหตุให้คนส่วนใหญ่พยายามมองหาตำแหน่งงานที่ดี เพื่อการันตีความสำเร็จในอีกก้าวหนึ่งของชีวิต

จากผลการสำรวจดัชนีความสุขในการทำงานของพนักงานไทย ในปี 2016 ที่ทาง jobsDB ได้สำรวจความคิดเห็นพนักงานจากหลากหลายตำแหน่งงาน พบว่า คนส่วนใหญ่คิดว่า ตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมีความสุขในการทำงานมากที่สุดคือ 7.32/11 และตำแหน่งที่มีความสุขในการทำงานน้อยที่สุดคือ ตำแหน่งหัวหน้างาน คิดเป็น 5.49/11 ในแต่ละตำแหน่งงานมีลักษณะงานอย่างไร ทำไมคนส่วนใหญ่จึงมองว่ามีความสุขมากน้อยต่างกัน แล้วระดับตำแหน่งงานที่คุณกำลังทำอยู่นั้นมีความสุขมากน้อยแค่ไหน มาดูกัน

ระดับตำแหน่งงานที่มีความสุข

1. ระดับผู้บริหาร (7.32/11)

ผู้บริหารระดับสูง เป็นตำแหน่งที่มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการดูแลภาพรวมขององค์กร ซึ่งหมายถึง การวางแผน การกำหนดทิศทางของแผนงานและเป้าหมายขององค์กร และผลักดันให้แผนงานทุกอย่างประสบความสำเร็จ คนทั่วไปอาจจะมองว่า เป็นตำแหน่งที่น่าจะไม่มีความสุขในการทำงาน เพราะต้องกดดัน และเครียดกับการขับเคลื่อนองค์กร แต่เนื่องจากผู้บริหารมักจะใช้ประสบการณ์ที่มีในการจัดสรรงาน และวางแผนเพื่อรอผลความก้าวหน้าและแก้ปัญหาใหญ่ ๆ ที่เกิดขึ้นได้ คนที่ทำงานในระดับผู้บริหาร จึงมีความสุขกับการทำงานมากที่สุด

2. ระดับเจ้าหน้าที่ เพิ่งเริ่มงาน หรือมีอายุงานน้อยกว่า 1 ปี (5.92/11)

ตำแหน่งงานที่มีความสุขมากในการทำงานอีกตำแหน่งหนึ่งคือ พนักงานน้องใหม่ หรือพนักงานที่เพิ่งเริ่มทำงานยังไม่ถึง 1 ปี เนื่องจากพนักงานกลุ่มนี้เป็นกลุ่มน้องใหม่ไฟแรง ยังกระตือรือร้น และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ทุกสิ่งที่เข้ามาในชีวิต ดังนั้นพนักงานน้องใหม่จึงเป็นตำแหน่งงานที่มีความสุขและสนุกกับการทำงานมากอีกตำแหน่งหนึ่ง

3. ระดับผู้จัดการ (5.77/11)

ผู้จัดการ ฟังชื่อตำแหน่งก็น่าจะพอรู้ถึงหน้าที่ในการทำงาน ผู้จัดการ มีหน้าที่รับผิดชอบ และจัดการกับงานในทุกฝ่ายงาน ประสานให้ทุกฝ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้วิธีการสั่งงานตามแผนงานที่ผู้บริหารวางแผน และสรุปงานจากหัวหน้างานเพื่อรายงานแก่ผู้บริหาร ในส่วนขั้นตอนการปฏิบัติอาจจะไม่ได้มีหน้าที่ลงมือทำงานเองโดยตรง แต่จะช่วยวางแผนและแก้ปัญหาในขั้นตอนต่าง ๆ ให้งานราบรื่น จากงานที่รับผิดชอบในการวางแผนแก้ปัญหา จัดประชุม รายงานผล จึงทำให้คนส่วนใหญ่มองว่า ตำแหน่งผู้จัดการจึงเป็นตำแหน่งที่มีความสุขอยู่ในระดับปานกลาง

4. ระดับพนักงาน ทำงานมาแล้ว 1-4 ปี (5.71/11)

พนักงานที่ทำงานมาแล้ว 4-5 ปี ความสุขในการทำงานจะลดลง ซึ่งไม่น่าแปลกใจ เนื่องจากพนักงานที่ทำงานมานานคุ้นชินกับบรรยากาศ สถานที่ และตัวงานที่ต้องทำซ้ำ ๆ เดิม ๆ มานาน ย่อมต้องมีความเบื่อหน่ายกับงานที่ทำอยู่ จึงเป็นเหตุให้ความสุขในการทำงานลดลง พนักงานที่ทำงานมาสักระยะหนึ่งจึงควรหาความแปลกใหม่จากการทำงาน เช่น หาหลักสูตรเรียนรู้เพิ่มเติมในส่วนที่สามารถนำไปใช้กับงานได้ ปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้ดีขึ้นจากประสบการณ์ทำงานที่เคยทำมา หรือหางานใหม่เพื่อพัฒนาฝีมือและสร้างความสุขให้ชีวิตการทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิม

5. ระดับหัวหน้างาน อายุงานมากกว่า 4 ปี (5.49/11)

การเป็นหัวหน้างานจะเป็นคนกลางระหว่างเจ้านาย และลูกน้องก้ำกึ่งระหว่างผู้ปฏิบัติและผู้ควบคุม เพราะต้องทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่เจ้านายวางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลทีมให้ขับเคลื่อนงาน การดูแลงานให้ขับเคลื่อนองค์กร และอีกด้านหนึ่งก็ต้องมองงานรอบด้าน หรือแก้ปัญหางานได้ดี คุณต้องแสดงศักยภาพให้เหมาะกับการเป็นหัวหน้า เพื่อให้ลูกน้องของคุณยอมรับ ดังนั้น คนที่ทำงานระดับหัวหน้างานจึงมีความเครียดมากที่สุด และมีความสุขน้อยกว่าคนทำงานในระดับตำแหน่งงานอื่น ๆ

ความสุขจากตำแหน่งงานที่ทำอยู่ จะมากหรือน้อยอยู่ที่ตัวเราเป็นผู้เลือก หากคุณสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองให้เข้ากับบทบาทหน้าที่ของงานที่ทำอยู่ได้ก็จะทำให้คุณมีความสุขในตำแหน่งที่ทำอยู่มากยิ่งขึ้น แต่หากปัญหาที่มีอยู่ยากเกินกว่าจะกลับไปมีความสุขได้ คุณสามารถมีความสุขกับการทำงานมากขึ้นได้ เพียง อัปเดตโปรไฟล์กับ jobsDB เพื่อปล่อยให้โอกาสงานตามหาคุณ ให้เจอกับงานที่ใช่

#icanbebetter

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

สายงานที่คุณทำอยู่ มีความสุขแค่ไหนมาเช็คกัน

เชื่อหรือไม่ ออกจากงานและได้งานใหม่ ทำให้คนทำงานมีความสุขมากขึ้น

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด