ถูกเลิกจ้าง สิทธิประโยชน์และค่าชดเชยอะไรที่ควรได้บ้าง

FacebookLineTwitterLinkedInEmailCopy LinkPrint

           การตกงานแบบไม่ทันตั้งตัวเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่ถ้า ถูกเลิกจ้าง ทำยังไงดี สิทธิประโยชน์และค่าชดเชยอะไรที่เราควรได้บ้าง คือเรื่องที่ต้องเตรียมตัวให้พร้อมเสมอ เพื่อรักษาผลประโยชน์และสิทธิ์ที่ควรจะได้รับ

ถูกเลิกจ้าง สิทธิประโยชน์และค่าชดเชยอะไรที่ควรได้บ้าง

           หากต้องถูกเลิกจ้าง ลูกจ้างจะต้องมีคำถามว่า ถูกเลิกจ้าง ทำยังไงดี สิทธิประโยชน์และค่าชดเชยอะไรที่เราควรได้บ้าง เพราะฉะนั้นเรามีคำตอบที่ลูกจ้างทุกคนต้องรู้

           เงินชดเชย

           ค่าชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) .. 2562 หมายถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง นอกเหนือจากเงินประเภทอื่น ซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง โดยพิจารณาอัตราค่าชดเชยตามอายุงานของลูกจ้าง โดยลูกจ้างจะต้องทำงานครบ 120 วันเป็นอย่างน้อย และลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยในกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้

  • ลูกจ้างลาออกเอง
  • ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น โกงเงิน ยักยอกเงิน ฯลฯ
  • จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  • ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  • ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบ หรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน
  • ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
  • กรณีการจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน และนายจ้างเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ได้แก่ การจ้างงานในโครงการ งานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว และงานที่เป็นไปตามฤดูกาล

 

           อัตราค่าชดเชย

           ลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ดังนี้

  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 30 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 90 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 180 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 240 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 10 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 300 วัน
  • ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชยเท่ากับค่าจ้างสุดท้าย 400 วัน

 

           ค่าตกใจ

           การที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้างโดยกะทันหันคือนายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าหรือ “ค่าตกใจ” ดังนี้

  • เลิกจ้างทั่วไป นายจ้างต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 งวดของการจ่ายค่าจ้าง เช่น ถ้าได้ค่าจ้างทุก 30 วัน นายจ้างต้องแจ้งเลิกจ้างเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างน้อย 30 วัน ไม่เช่นนั้นจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า 1 เดือน
  • เลิกจ้างเพื่อปรับปรุงหน่วยงาน ลดจำนวนลูกจ้างลง นายจ้างต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้เงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 60 วัน
  • เลิกจ้างเพราะย้ายสถานประกอบกิจการ ต้องแจ้งล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน หากลูกจ้างไม่ได้รับแจ้งจะได้รับเงินชดเชยแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้าย 30 วัน นอกจากนี้ในกรณีที่มีการบอกล่วงหน้า แต่ลูกจ้างไม่ต้องการย้ายไปทำงานที่ใหม่ ก็มีสิทธิได้รับค่าชดเชยไม่น้อยกว่า 50% ของค่าชดเชยถูกเลิกจ้างที่มีสิทธิได้รับ

 

           ระยะเวลาการจ่ายเงินชดเชย

           นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างภายในวันสุดท้ายที่ทำงาน หากลูกจ้างไม่ได้รับสามารถร้องเรียนที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ เพราะถือว่าถูกเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม

 

           เงินทดแทนกรณีว่างงาน

           หากลูกจ้างมีสิทธิประกันสังคมและจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน จะมีเงินทดแทนกรณีว่างงาน คือ สิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากการถูกเลิกจ้าง ลาออก หรือสิ้นสุดสัญญาจ้างตามกำหนดระยะเวลา ซึ่งไปยื่นเรื่องได้ที่สำนักงานประกันสังคม และจะได้รับเงินโอนทดแทนการขาดรายได้ตามสิทธิของผู้ประกันตนในอัตราที่กำหนด และอย่าลืมขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานที่เว็บไซต์สำนักงานจัดหางานภายใน 30 วันนับจากวันที่ลาออกหรือถูกเลิกจ้าง

 

           เลิกจ้างเพราะโควิด-19 ได้ไหม

           นายจ้างไม่สามารถเลิกจ้างลูกจ้างเพราะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ เพราะถือเป็นความเจ็บป่วยที่เป็นเหตุเกิดขึ้นตามสภาพของร่างกายโดยธรรมชาติ เป็นการติดเชื้อจากโรคระบาดที่แพร่กระจายในวงกว้าง หากนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจะต้องได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายอย่างเป็นธรรม

 

           แค่ถูกเลิกจ้างก็เจ็บปวดมากพอแล้ว เพราะฉะนั้นต้องมีสติและตรวจสอบสิทธิประโยชน์ที่ได้รับให้ครบถ้วน และอย่าลืมตัวช่วยหางานอยู่ในมือ ที่รวมงานใหม่ ๆ จากองค์กรชั้นนำที่มาลงประกาศ อย่างแอปพลิเคชันหางานอันดับ 1 ของประเทศไทย JobsDB ไม่พลาดงานใหม่ และตำแหน่งโดนใจต้องดาวน์โหลดไว้ในเครื่องเลย

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

เงินชดเชยเลิกจ้างแบบไหนที่ไม่ต้องเสียภาษี?

เมื่อถูกเลิกจ้าง จัดการภาษี และเงินชดเชยต่าง ๆ ได้อย่างไร

สิทธิลูกจ้างกรณีจ่ายค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง

เลิกจ้างระหว่างทดลองงาน นายจ้างต้องบอกล่วงหน้าหรือไม่

กระทรวงแรงงานแนะมาตรการบรรเทาปัญหาการเลิกจ้าง
บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023ถูกเลิกจ้าง สิทธิประโยชน์และค่าชดเชยอะไรที่ควรได้บ้าง

สำหรับคนที่เรียนสายศิลป์มา เมื่อต้องก้าวเข้าสู่รั้วมหาวิทยาลัย อีกหนึ่งคณะที่หลายคนใฝ่ฝันคงหนีไม่พ้น “คณะมนุษยศาสตร์” ซึ...
เชื่อว่าในแวดวงชาวออฟฟิศช่วงหลังมานี้ ต้องเคยได้ยินเรื่อง Work Life Balance ผ่านหูกันอยู่บ้าง เรียกได้ว่าเป็นหนึ่งในเทรน...
“Data is the new oil” เป็นคำกล่าวที่แสดงถึงความสำคัญของข้อมูลในยุคนี้ ซึ่งเป็นยุคที่ข้อมูลกลายเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่ามห...

คำค้นหายอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
No data was found
Scroll to Top