พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

FacebookLineTwitterLinkedInEmailCopy LinkPrint

          เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี้ เพิ่งมีการบังคับใช้พระราชบัญญัติใหม่ล่าสุดทางการเงิน คือ พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก พ.ศ. 2551 ซึ่งกำหนดขึ้นมาเพื่อเป็นการคุ้มครองเงินฝากให้แก่ผู้ฝากเงินกับสถาบันการเงินที่อยู่ในระบบ ให้ได้รับเงินคืนโดยเร็วที่สุด ในกรณีที่สถาบันการเงินถูกสั่งปิดกิจการ และเพื่อทำให้สถาบันการเงินบริหารเงินด้วยความระมัดระวัง โปร่งใสและแข่งขันกันในเชิงคุณภาพ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ฝาก เป็นการสร้างวินัยทางการเงินและความเข้มแข็งของสถาบันการเงิน โดยวงเงินจ่ายคืนแก่ผู้ฝากที่กำหนดไว้ตาม พระราชบัญญัติฉบับนี้ มีดังนี้

ปีที่

ระยะเวลา

จำนวนที่คุ้มครอง

1

11 สิงหาคม 2551 – 10 สิงหาคม 2552

ทั้งจำนวน

2

11 สิงหาคม 2552 – 10 สิงหาคม 2553

100 ล้านบาท

3

11 สิงหาคม 2552 – 10 สิงหาคม 2554

100 ล้านบาท

4

11 สิงหาคม 2552 – 10 สิงหาคม 2555

50 ล้านบาท

5

11 สิงหาคม 2555 เป็นต้นไป

1 ล้านบาท

          ตามตารางข้างต้นสามารถอธิบายได้อย่างง่าย ๆ ตามตัวอย่างต่อไปนี้

          นายโต้งมีบัญชีเงินฝากในธนาคาร ก.ไก่ สาขาตลิ่งชัน 650,000 บาท สาขาสาทร 500,000 บาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 หากธนาคาร ก.ไก่ปิดกิจการ นายโต้งจะได้รับเงินคืนเต็มจำนวน คือ 1,100,000 บาท แต่หากธนาคาร ก.ไก่ปิดกิจการลง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2555 นายโต้งจะรับเงินคืน 1,000,000 บาท ส่วนที่เหลือต้องรอรับจากการเฉลี่ยคืนจากทรัพย์สินของธนาคารก.ไก่

สถาบันคุ้มครองเงินฝาก          แต่หากนายโต้งมีบัญชีเงินฝากในธนาคารก.ไก่เพียง 900,000 บาท นายโต้งจะได้รับเงินฝากคืน 900,000 บาท หากธนาคาร ก.ไก่ปิดกิจการลงหลังวันที่ 11 สิงหาคม 2555 เพราะกฎหมายคุ้มครองเงินฝากกำหนดวงเงินไว้

          และเนื่องจากเป็นการคุ้มครองเงินฝากต่อรายผู้ฝากต่อสถาบันการเงิน ดังนั้นหากนายโต้งมีบัญชีเงินฝากในธนาคารอื่น ๆ อีกก็จะได้รับการคุ้มครองครอบคลุมสถาบันการเงินในระบบทุก ๆ แห่ง

          หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมจึงกำหนดตัวเลขวงเงินจ่ายคืนไว้ที่ 1 ล้านบาท นั่นเป็นเพราะโครงสร้างเงินฝากในระบบสถาบันการเงินในประเทศไทย (ไม่รวมถึงเงินฝากในสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ) มีจำนวนประมาณ 6.5 ล้านล้านบาท เป็นบัญชีเงินฝากทั้งสิ้น 73.3 ล้านบัญชี โดยบัญชีเงินฝากส่วนใหญ่จะเป็นบัญชีที่มีเงินฝากไม่เกิน 1 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 98.827 ของบัญชีเงินฝากทั้งระบบ

          เพื่อเป็นการคุ้มครองผู้ฝากเงินรายย่อย ซึ่งถือเป็นผู้ฝากเงินส่วนใหญ่ในระบบ สถาบันคุ้มครองเงินฝากจึงกำหนดวงเงินจ่ายคืนไว้ที่ 1 ล้านบาท เพื่อให้ครอบคลุมผู้ฝากเงินรายย่อยทั้งหมดอย่างครบถ้วน

บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023พระราชบัญญัติสถาบันคุ้มครองเงินฝาก

นอกจากภาษีที่ผู้มีรายได้ตามเกณฑ์จะต้องถูกหักทุกเดือนแล้ว เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมก็เป็นอีกหนึ่งรายจ่ายที่ชาวออฟฟิศห...
งานอดิเรกเป็นการสร้าง Work-life balance ที่ดีทางหนึ่ง เมื่อเราใช้เวลาว่างกับสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นถักโครเชต์ ทำงานศิลปะ...
พนักงานยุคใหม่ที่มีคุณลักษณะแบบผู้ประกอบการ หรือ Intrapreneur คือพนักงานที่ทุ่มเททำงาน มีทักษะและความสามารถ มีจิตวิญญาณแ...

คำค้นหายอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
No data was found
Scroll to Top