ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย การใช้งาน DRM เครื่องมือที่ผู้ผลิตผลงานควรรู้

FacebookLineTwitterLinkedInEmailCopy LinkPrint

            การใช้งาน DRM หรือ Digital Right Management เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์สำหรับผู้ผลิตงานที่เกี่ยวข้อง กับลิขสิทธิ์และผู้ให้บริการผลงานเหล่านั้น เนื่องจากเป็น เทคโนโลยีที่ช่วยป้องกันการสูญเสียรายได้ อันเกิดจากการลักลอบเผยแพร่หรือดาวน์โหลดผลงานอย่างผิดกฎหมายของผู้ที่ไม่ประสงค์ดี แต่ก็ยังเป็นเทคโนโลยีที่มีข้อกังขา อยู่มากมาย เกี่ยวกับเรื่องของความเป็นธรรมระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค ยกตัวอย่างเช่น เมื่อคุณซื้อดีวีดีเพลงของค่ายโซนี่หรือ BMG ที่ถูกลิขสิทธิ์มาสักแผ่นหนึ่ง และไม่ได้คิด อะไรมากเพียงแค่ต้องการตัดต่อหรือถ่ายโอนโดยเลือกเฉพาะบางเพลงที่ต้องการเพื่อเอาไปใช้ฟังเวลา ที่อยู่ในห้องนอน แต่คุณจะพบว่าไม่สามารถทำเช่นนั้นได้ ก็เนื่องมาจาก การใช้งาน DRM ที่เข้ารหัสแผ่น ดีวีดี เพื่อไม่อนุญาตให้มีการก๊อบปี้ข้อมูลไปยังมีเดียอื่น ๆ หรือเมื่อคุณพยายามที่จะทำสำเนาของแผ่นซีดี เพลงขึ้นมาเป็นไฟล์ MP3 เพื่อนำไปเล่นกับเครื่องเล่นMP3 ในรถ คุณก็พบว่ามีข้อมูลแสดงขึ้นมาว่าคุณสามารถก๊อบปี้ซีดีแผ่นนี้ได้อีกกี่ครั้ง เป็นต้น

การใช้งาน-DRM

          บางคนอาจเห็นว่าข้อจำกัดที่เกิดขึ้นเหมือนเป็นการจำกัดสิทธิในการใช้งานของเขา ทั้งที่จริง ๆ แล้วเขาเองไม่ได้มีจุดประสงค์จะก๊อบปี้ ข้อมูลลิขสิทธิ์เหล่านั้นไปใช้เพื่อการค้าเลย แต่เขาก็ต้องถูกจำกัด สิทธิโดยปริยาย แต่สิ่งหนึ่งที่คุณควรรู้ก็คือ ผู้ผลิตและผู้ให้บริการ รวมไปถึง ผู้พัฒนาเทคโนโลยีต่างก็ ต้องลงทุนเป็นจำนวนมาเพื่อสร้างผลงานและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อที่จะปกป้องผลงานของพวกเขาจากการ โจรกรรมหรือการลักลอบเพื่อหาผลประโยชน์จากผลงานที่มีสิขสิทธิ์เหล่านั้นได้ ดังนั้นการใช้งาน DRM เพื่อป้องกันผลงานจึงเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมาย DRM ไม่ใช่เป็นเพียงแค่ระบบ ที่ป้องกันการ ลักลอบทำสำเนาช้อมูลลิขสิทธิ์เท่านั้น แต่ยังหมายถึงการหลีกเลี่ยงการสูญเสียเม็ดเงินของผู้ผลิต หรือผู้ให้บริการไปให้กับผู้ที่ ลักลอบเผยแพร่ข้อมูลลิขสิทธิ์ของผู้เขาอย่างผิดกฎหมาย และเป็นความพยายามที่จะหยุดยั้งวงจรเทปผีซีดีเถื่อนที่กำลังระบาดจนเป็นปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์อยู่ในทุกวันนี้

          องค์กรใดก็ตามที่คิดจะพัฒนาหรือนำเอาโซลูชัน DRM มาใช้งานนั้น ควรจะต้องคำนึงถึงประเด็นสำคัญเหล่านี้ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา

  • เทคโนโลยีที่ใช้ควรต้องสนับสนุนรูปแบบหรือประเภทของข้อมูลที่หลากหลาย ทั้งยังต้องสามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งรวมไปถึงข้อมูลเอกสาร (PDF, HTML) ข้อมูลภาพ ข้อมูลเสียง (ทั้งแบบสตรีมมิ่งและแบบไฟล์) ข้อมูลวิดีโอ (ทั้งแบบสตรีมมิ่งและแบบไฟล์) ข้อมูลซอฟต์แวร์ ข้อมูลอีเมล และอื่น ๆ
  • โซลูชันที่เลือกไม่ควรปิดกันสิทธิ์ของผู้ใช้ในการเลือกใช้งานข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ถูกต้องตาม
  • กฎหมายอื่น ๆ

          แน่นอนว่า ไม่มีเทคโนโลยีในการเข้ารหัสหรือการป้องกันใดที่จะสามารถป้องกันได้ตลอดไป ดังนั้นเทคโนโลยี DRM จึงต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่ออุดช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้น และค้นหาวิธีการใหม่ ๆ มาแทนที่เพื่อต่อสู้กับการละเมิดลิขสิทธิ์ทุกรูปแบบ

ที่มา : Eworld Magazine

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

jobsDB Mobile App

คว้างานที่ใช่ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

 

4 แหล่งเรียนคอร์สไอทีออนไลน์สุดปัง พร้อมรับปี 2021

ทักษะคอมพิวเตอร์ สำหรับคนทำงาน
บทความยอดนิยม

9 เทรนด์การทำงานในอนาคตสำหรับปี 2023ป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย การใช้งาน DRM เครื่องมือที่ผู้ผลิตผลงานควรรู้

นอกจากภาษีที่ผู้มีรายได้ตามเกณฑ์จะต้องถูกหักทุกเดือนแล้ว เงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมก็เป็นอีกหนึ่งรายจ่ายที่ชาวออฟฟิศห...
งานอดิเรกเป็นการสร้าง Work-life balance ที่ดีทางหนึ่ง เมื่อเราใช้เวลาว่างกับสิ่งที่ชอบ ไม่ว่าจะเป็นถักโครเชต์ ทำงานศิลปะ...
พนักงานยุคใหม่ที่มีคุณลักษณะแบบผู้ประกอบการ หรือ Intrapreneur คือพนักงานที่ทุ่มเททำงาน มีทักษะและความสามารถ มีจิตวิญญาณแ...

คำค้นหายอดนิยม

บทความที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
No data was found
Scroll to Top