กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) VS กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) VS กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

หลายคนอาจสับสนว่ากองทุนสำรอง เลี้ยงชีพ (Provident Fund) กับกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เหมือนกันหรือไม่ แตกต่างกันอย่างไร ถึงแม้ชื่อภาษาไทยฟังดูคล้ายกัน แต่ในความหมายแล้วไม่ใช่อย่างเดียวกันแน่นอน ซึ่งสามารถอธิบายให้เข้าใจได้ง่าย ดังนี้

กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund)เป็นการเก็บออมเงินทางหนึ่ง โดยนายจ้างและลูกจ้างทำร่วมกัน ในแต่ละเดือนนายจ้างจะหักเงินเดือนส่วนหนึ่งของลูกจ้างเพื่อนำไปเข้ากองทุน สำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งเงินในส่วนของลูกจ้าง เรียกว่า เงินสะสม ในขณะเดียวกันนายจ้างก็ต้องสมทบเพิ่มเข้าไปด้วย เรียกเงินในส่วนของนายจ้างว่า เงินสมทบ นั่นคือ นอกจากลูกจ้าง จะออมแล้ว นายจ้างยังช่วยออมอีกแรงหนึ่งด้วย และนายจ้างจะจ่ายสมทบในจำนวนเท่ากันหรือมากกว่าที่ลูกจ้างจ่ายสะสมเสมอ จึงอาจกล่าวได้ว่าการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ สวัสดิการแก่ลูกจ้าง จึงช่วยสร้างแรงจูงใจให้ลูกจ้างทำงานให้กับนายจ้าง

ลูกจ้างจะได้ รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้ก็ต่อเมื่อลาออกจากบริษัท โดยจะได้รับเงินสะสมเต็มจำนวน ส่วนเงินสมทบจะได้รับตามเงื่อนไขของนายจ้างที่ตกลงกับลูกจ้างเอาไว้ตั้งแต่ แรก เช่น

อายุงานน้อยกว่า 1 ปี

จะได้รับเงินสมทบ

ร้อยละ 10

อายุงานตั้งแต่ 1 ปี - 5 ปี

จะได้รับเงินสมทบ

ร้อยละ 50

อายุงานตั้งแต่  5 ปีขึ้นไป

จะได้รับเงินสมทบ

ร้อยละ 100

ในระหว่างการออมเงินนี้ ลูกจ้างไม่สามารถเบิกเงินก้อนนี้ออกไปใช้ได้ เนื่องจากวัตถุประสงค์คือการเก็บออมเพื่อให้ลูกจ้างมีเงินเก็บไว้สำหรับใช้ ในยามเกษียณ

กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ(Retirement Mutual Fund หรือ RMF)เป็น การออมเงินระยะยาวที่นักลงทุนสมัครใจที่จะออมเอง ด้วยอาจเห็นว่าเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพยังมีไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต หลังเกษียณ อีกทั้งเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนผ่านกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพยัง สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ถึง 500,000 บาทต่อปี โดยผู้ลงทุนต้องซื้อหน่วยลงทุน RMF อย่างต่อเนื่องทุกปี หรือปีเว้นปี และเงินที่ลงทุนต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 % ของรายได้ต่อปี หรือ ไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ต่อปี ทั้งนี้จำนวนสูงสุดที่ลงทุนได้ต้องไม่เกิน 15 % ของรายได้ต่อปี และเมื่อรวมกับเงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (Provident Fund) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข) แล้วจะต้องไม่เกิน 500,000 บาท

นอกจากนี้ ผู้ลงทุนจะต้องถือหน่วยลงทุน RMF ไปจนถึงอายุ 55 ปี และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี จึงสามารถขายคืนหน่วยลงทุนได้ และเงินที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนของกองทุน RMF จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ เมื่อคุณได้ถือหน่วยลงทุนนั้นมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี

กองทุน เนื่องจากกอง RMF เป็นกองทุนระยะยาว จึงเปิดโอกาสให้เปลี่ยนนโยบายการลงทุนได้ และยังสามารถโอนย้ายข้ามไปยัง บลจ.อื่นได้ ท่านสามารถเลือกลงทุนได้หลายกองทุนด้วยกันขึ้นอยู่กับความเสี่ยงที่คุณได้ รับ เริ่มจากความเสี่ยงระดับน้อยมาก ๆ ก็เน้นลงลงทุนในกองทุนที่ลงทุนในตราสารหนี้ ไปจนถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงที่สูง ก็ลงทุนในตราสารทุน เช่นช่วงที่ตลาดหุ้นมีความผันผวนสูง ท่านที่ลงทุนในกองทุนหุ้นก็สามารถสับเปลี่ยนหน่วยลงทุนมาที่กองทุนตราสาร หนี้ได้

โดยสรุปทั้งสองกองทุนมีวัตถุ ประสงค์เพื่อการเก็บออมเงินไว้ใช้ยามเกษียณทั้งคู่ แต่มีรูปแบบการออมที่แตกต่างกัน Provident Fund เป็นการออมเงินร่วมกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง แต่ RMF เป็นการลงทุนที่นักลงทุนตัดสินใจเอง เลือกกองทุนและระดับความเสี่ยงเอง เป็นการเพิ่มโอกาสในการออมเงินนอกเหนือไปจากเงินออม Provident Fund

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด