HR Scorecard คืออะไร

HR Scorecard คืออะไร
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

หลายองค์กรอาจจะรู้จักกับHR Scorecardกันแล้ว ว่าเป็นเครื่องมือการจัดการยุคใหม่สำหรับการพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ซึ่งจะช่วยทำให้ทราบถึงสภาพปัญหาของระบบการบริหารทรัพยากรบุคคล และสามารถบริหารกำลังคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด สร้างสมรรถนะและความเข้มแข็งด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล อันจะนำไปสู่สมรรถนะที่ปฏิบัติงานในฐานะเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ในการบริหาร

HR Scorecardมีชื่อเรียกว่า การพัฒนาสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างตัวชี้วัดผลงานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญและมีผลกระทบต่อคุณค่าขององค์กร และโครงสร้างนี้จะเป็นตัวนำไปสู่ตัวชี้วัดย่อย ๆ ในการบริหารงานด้าน HR การจัดทำ HR-Scorecard จะช่วยให้คนทำงานด้าน HR สามารถตอบโจทย์ทางธุรกิจได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่างานในแต่ละงานที่จะต้องทำนั้นทำไปทำไม เกิดผลกระทบอะไรต่อเป้าหมายขององค์กร

ถือเป็นเครื่องมือทางการจัดการอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้คนที่ทำงาน HR สามารถมองเห็นภาพความสัมพันธ์แผนผังกลยุทธ์ (Strategy Map) ในการสร้างคุณค่าให้กับองค์กรได้ชัดเจนยิ่งขึ้น นอกจากนี้ HR-Scorecard ยังสามารถกำหนดตัวชี้วัดในระดับต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น เพราะสามารถตอบได้ว่าตัวชี้วัดใดเป็นเพียงตัวชี้วัดผลของการดำเนินกิจกรรมทางด้าน HR ตัวชี้วัดใดเป็นตัวชี้วัดผลกระทบจากกิจกรรมของ HRที่มีต่อเป้าหมาย ขององค์กร

การออกแบบ HR-Scorecard จะต้องคำนึงถึง 3 ส่วนที่สำคัญดังนี้

  1. ระบบงานภายในของ HRระบบย่อย ๆ ในงาน HR จะต้องมีประสิทธิภาพไม่ว่าจะเป็นระบบการสรรหา ระบบการพัฒนาฝึกอบรม ระบบค่าจ้างค่าตอบแทน ฯลฯ การทำให้ระบบงาน ภายในหน่วยงาน HR มีประสิทธิภาพนั้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การจัดทำมาตรฐานระบบงาน การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ หรือการใช้บริการหน่วยงานภายนอก (Outsource)
  2. hr-scorecard-คือ การปรับแต่งกลยุทธ์ของ HRระบบงานของ HR การที่จะทำให้ระบบงานย่อยของ HR มีคุณค่าต่อองค์กร เราจะต้องเชื่อมโยงระบบต่าง ๆ ไปสู่เป้าหมายขององค์กรที่ชัดเจน ดังนั้น การวางแผนกลยุทธ์ของ HR จะต้องสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับแผนกลยุทธ์ขององค์กร
  3. ประสิทธิภาพของงานด้าน HRที่มีต่อผลงานขององค์กร กิจกรรมทางด้าน HR จะต้องสามารถวัดได้ และสามารถแสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ชัดเจน ตัวชี้วัดประสิทธิภาพของ HR สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ด้านคือ ตัวชี้วัดด้านต้นทุน (Cost) และ ตัวชี้วัดด้านการสร้างคุณค่าเพิ่มให้องค์กร (Corporate Value Added) ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่ใช้วัดผลกระทบของกิจกรรมทางด้าน HR ที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรโดยผ่านกระบวนการในด้านต่าง ๆ เช่น การสรรหาคนที่เก่ง ๆ ทางด้านการตลาด และคนเก่ง ๆ ที่ได้มานั้นเข้ามาช่วยสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดให้องค์กรเป็นผู้นำทางด้านการตลาดได้

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด