เพื่อนร่วมงานทะเลาะกัน ไม่อยากแยกข้าง

เพื่อนร่วมงานทะเลาะกัน ไม่อยากแยกข้าง
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

เรื่องราวของการทะเลาะกันหรือการมีเรื่องมีราวระหว่างบุคคล ถือเป็นปัญหาสุดคลาสสิกที่เกิดขึ้นได้ในทุกวงสังคม โดยเฉพาะที่ทำงาน ที่เราเชื่อว่าทุกคนต้องเคยประสบพบเจอกับปัญหานี้กันมาบ้างแน่นอน เพราะด้วยความที่เป็นสถานที่ที่มาคนรวมตัวกันเยอะ ต่างคนต่างมีที่มาที่แตกต่างกัน ต่างคนก็ต่างความคิด ก็ย่อมต้องมีความขัดแย้งหรือความคิดเห็นที่ไม่ตรงกันบ้าง จนก่อเกิดเป็นการทะเลาะกันอย่างเลี่ยงไม่ได้

ส่วนใหญ่เวลาที่เพื่อนร่วมงานมีปัญหากัน ก็มักจะไม่พูดกันตรงๆ จนกลายเป็นการนินทากันลับหลัง ลามไปถึงการแบ่งพรรค แบ่งฝ่าย ท้ายที่สุดก็ไม่พ้นเรื่องของการเมืองในที่ทำงาน สร้าง Toxic ให้แก่คนที่อยู่นอกวงขัดแย้งอย่างเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งคนที่อยู่นอกวงแหวนแห่งไฟ หรือเรียกง่ายๆ ว่าคนกลางนี่แหละ คือคนที่วางตัวลำบากที่สุด เพราะฉะนั้นมาดูกันดีกว่า ว่าหากเราต้องเป็นคนกลางในสมรภูมิรบกลางที่ทำงาน จะมีวิธีวางตัวหรือแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง

เพื่อนร่วมงานทะเลาะกัน

5 เทคนิคการวางตัว เมื่อเพื่อนร่วมงานทะเลาะกัน

ปัญหาเรื่องของความขัดแย้งในที่ทำงาน บางทีอาจจะมองว่าเป็นปัญหาที่ไม่ใหญ่โตมาก แต่อย่างไรเสียก็เป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไข เพราะหากปล่อยไว้นานๆ โดยไม่ได้มีการเคลียร์ใจกัน ก็ต้องส่งผลกระทบระยะยาวต่อการทำงาน ทำให้งานเสียเข้าสักวัน แถมยังสร้างบรรยากาศแย่ๆ ในที่ทำงานให้แก่คนที่ไม่เกี่ยวข้องอีกต่างหาก ดังนั้นใครที่เป็นคนกลาง ลองมาดูเทคนิคต่างๆ ที่เรายกตัวอย่างมาให้ แล้วลองนำไปปรับใช้กันดู

1. ถ้าเป็นคนกลางแล้ว ต้องรับบทคนกลางที่แท้จริง

ถ้าคุณต้องตกอยู่ในสถานการณ์ของการการทะเลาะกันระหว่างเพื่อนร่วมงาน แล้วคุณดันเป็นเพื่อนของทั้ง 2 ฝ่ายด้วยแล้วล่ะก็ คุณควรรับบทเป็นคนกลางที่แท้ทรู เพราะแน่นอนว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องมาดึงตัวคุณไปเป็นพวกอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้นลำดับแรกควรเลือกปลีกตัวออกจากความขัดแย้งก่อนเลยเป็นอันดับแรก ไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับใครทั้งสิ้น นั่นคือทางออกที่ดีที่สุด

แต่ถ้าสุดท้ายแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายดันมาดึงคุณเข้าไปร่วมวงจรแล้วล่ะก็ อย่างไรเสียก็ต้องทำตัวเป็นกลางให้มากที่สุด หากทั้ง 2 คนมาปรึกษา ก็ควรรับฟังไว้ แต่ไม่ควรออกความคิดเห็นหรือใส่สีตีไข่ใดๆ ทั้งสิ้น พยายามแสดงออกถึงความเข้าใจและเหตุผลของแต่ละฝ่าย ซึ่งการรับฟังตรงนี้ อาจช่วยให้คุณเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น และกลายเป็นตัวไกล่เกลี่ยได้เช่นกัน

2. เมื่อรับฟังแล้ว ห้ามแล้วพูดต่อ

ถ้าต้องรับบทเป็นผู้ฟังจากการระบายความในใจของทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว อีกหนึ่งข้อสำคัญที่ต้องท่องไว้ในใจเลยก็คือ ห้ามนำเรื่องของทั้ง 2 ฝ่ายที่มีปัญหากันไปเล่าต่อโดยเด็ดขาด เพราะการที่ทั้ง 2 ฝ่ายนำเรื่องที่เป็นความขัดแย้ง หรือเรื่องราวความอึดอัดใจในใจมาเล่าให้คุณฟัง นั่นแปลว่าทั้ง 2 คนนั้น จะต้องไว้ใจคุณในระดับหนึ่งเลยล่ะ

อันดับแรกคือต้องทำตัวเป็นผู้ฟังที่ดี ให้เพื่อนทั้ง 2 ได้ระบายความในใจอย่างเต็มที่ แล้วช่วยเหลือเท่าที่คุณจะสามารถช่วยได้ แต่ไม่ต้องนำเรื่องทั้งหมดไปเล่าให้อีกฝ่ายหรือคนอื่นๆ ฟัง เพราะหากคุณเผลอหลุดพูดต่อเมื่อไร สิ่งเหล่านี้นี่แหละที่จะหันกลับมาทำร้ายตัวคุณเอง ยิ่งเป็นเรื่องที่อ่อนไหวง่ายแล้วด้วย ยิ่งต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ แล้วคุณก็จะกลายเป็นคนที่หมดความน่าเชื่อถือไปในทันที แถมพ่วงตำแหน่ง น้องนก จากเรื่องแรงเงาไปด้วยอีกต่างหาก ว่าเป็นนกสองหัว และอาจทำให้ความขัดแย้งที่ตอนแรกมีแค่ 2 คน จะกลายเป็นบวกคุณเข้าไปด้วยเป็น 3 คนแน่นอน

3. อาสาเป็นคนเชื่อมสัมพันธ์

ถ้าทั้ง 2 คนที่ทะเลาะกัน เกิดเป็นเพื่อนรักของคุณจริงๆ แล้วคุณรู้สึกว่าการเลือกวิธีเพิกเฉยต่เหตุการณ์นี้ ไม่อาจช่วยให้ปัญหานี้จบลงไม่ได้ อาจจะลองกลั้นใจรับบทเป็นนักเชื่อมสัมพันธ์ดูก็ได้ เพราะอย่างน้อยก็จะช่วยทำให้ปัญหาที่คาราคาซังจบลงไปได้อย่างราบรื่น และทำให้การทำงานกลับมาลื่นไหลอีกครั้ง ดังนั้นการที่คุณเสนอลงตัวลงมาช่วยไกล่เกลี่ยนี่แหละ ที่ถือเป็นอีกหนึ่งทางออกของการจบปัญหาที่ดี

เพราะอย่างน้อยเมื่อมีคนกลางเข้ามาช่วยเคลียร์ ก็จะช่วยให้ทั้ง 2 ฝ่ายที่มีปัญหาได้ทราบความรู้สึกจริงๆ ว่าเรื่องไหนที่พวกเขาต้องผิดใจกัน โดยคุณอาจจะเป็นช่วยคนกรองคำพูดของทั้ง 2 ฝ่าย ที่อาจมีความรุนแรงหรือการประชดประชันที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตอนไกล่เกลี่ย ซึ่งตรงนี้จะเป็นส่วนที่ช่วยลดบรรยากาศอันตึงเครียดลงได้ ดีกว่าที่ให้เขาทั้ง 2 ไปเคลียร์กันเองโดยตรง

ซึ่งอย่างไรเสียถ้าเขาทั้ง 2 เป็นเพื่อนสนิทของคุณด้วยแล้วล่ะก็ เขาก็ต้องเกิดความเกรงใจต่อตัวคุณที่ลงมาช่วยเคลียร์ให้ไม่มากก็น้อย อีกทั้งคุณยังอาจลองไกล่เกลี่ยด้วยการใช้วิธี พบกันครึ่งทาง โดยเสนอให้ทั้ง 2 ฝ่ายต่างต้องยอมลดความต้องการของทั้งคู่ลง จากนั้นจึงค่อยหาข้อตกลงที่สามารถยุติปัญหาอันเรื้อรังนี้ลงได้

4. ระวังต้องกลายบ่างช่างยุโดยไม่รู้ตัว

อย่างที่เราแนะนำไปในด้านบนว่าให้วางตัวเป็นกลางแบบไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เพราะบางครั้งคุณอาจเกิดลำบากใจเนื่องจากทั้ง 2 ฝ่ายที่มีปัญหา ก็ดันเป็นคนที่คุณสนิทด้วยกันทุกคู่ ดังนั้นการวางตัวกลางก็คืออีกหนึ่งทางออกที่ดีที่สุดในสถานการณ์เช่นนี้ แต่เมื่อการตั้งเป้ารับอย่างเดียว ซึ่งแน่นอนว่าการรับฟังก็เป็นข้อมูลที่มาจากทั้ง 2 ฝ่าย ก็อาจกลับตาลปัตรทำให้คุณกลายเป็นนกสองหัวได้แบบไม่รู้ตัวเช่นกัน เพราะเพียงแค่คุณแสดงออกหรือพูดอะไรที่อาจจะทำให้ใครสักคนเกิดการเข้าใจผิดไปเพียงแค่นิดเดียว จุดนี้อาจกลายทำให้คุณกลายเป็นมนุษย์จอมเสี้ยมไปโดยไม่รู้ตัวเช่นกัน

ซึ่งการแนะนำที่เกิดขึ้นจุดนี้ ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการตั้งใจหรือไม่ก็ตาม แต่ตามธรรมชาติของคนที่มีอารมณืโกรธหรือมีปัญหากันอยู่ ก็จะพาลทำให้เขาคนนั้นคิดมากเกินไป จนขาดการไตร่ตรอง ว่าแท้ที่จริงคุณแค่แนะนำตามแบบฉบับคนกลางก็เท่านั้น แต่เขาอาจจะคิดว่าคุณใส่ไฟก็เป็นได้ ตรงนี้อาจรวมไปถึงการแยกตัวออกไป อาจทำให้คุณกลายเป็นคนที่สามที่ก้าวเข้ามาให้ความขัดแย้งนี้ด้วย ดังนั้นก่อนที่จะพูดหรือแนะนำอะไรออกไป ควรคิด วิเคราะห์ แยกแยก และไตร่ตรองให้ดีก่อนเสมอ เพราะนี่ถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องระวังมากๆ เลยล่ะ

5. ขอคำแนะนำจากหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคล

หากเรื่องราวความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ดันบานปลายและไม่มีทีท่าว่าจะจบลงง่ายๆ ปัญหานี้อาจจะต้องถึงมือผู้มีอำนาจในการตัดจบ ดังนั้นจึงควรไปลองขอความช่วยเหลือจากหัวหน้าทีมหรือฝ่ายบุคคล เพราะแท้ที่จริงการทะเลาะกันของเพื่อนร่วมงาน ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในบริษัท ดังนั้นหน้าที่ในการแก้ปัญหาจึงไม่ควรจะอยู่ที่คุณเพียงคนเดียว แล้วยิ่งถ้าปัญหานี้รุนแรงจนยากจะหาทางแก้ไข อย่างไรเสียเรื่องนี้ก็ต้องถึงมือของหัวหน้าในการลงมาจัดการด้วยตนเอง

แต่สิ่งที่ต้องระมัดระวังให้ดีเลยก็คือ การขอให้หัวหน้าหรือ HR ช่วยเหลือนั้น ควรเป็นลักษณะที่ไปขอคำปรึกษาและคำแนะนำ อย่าทำให้เหมือนว่าคุณเป็นคนนำเรื่องนี้ไปฟ้อง เพราะถ้าหากว่าทั้ง 2 ฝ่ายที่ตีกันอยู่ เกิดรู้เรื่องนี้เข้า คุณจะตกอยู่ในที่นั่งลำบาก จนอาจลามไปถึงความขัดแย้งลูกใหม่ที่จะเพิ่มจาก 2 คน เป็น 3 คนทันที ทางที่ดีคืออย่าให้คน 2 คนที่มีปัญหากัน รู้ว่าคุณเป็นคนนำเรื่องไปปรึกษาหัวหน้าหรือฝ่ายบุคคลจะดีที่สุด

แล้วยิ่งถ้าทั้ง 2 คนนั้นเป็นคนที่แรงด้วยกันทั้งคู่ แม้แต่คุณที่เป็นเพื่อนสนิทของพวกเขา ก็ยังไม่สามารถช่วยไกล่เกลี่ยหรือให้คำแนะนำได้แล้ว อย่างไรเสียเรื่องนี้ก็ต้องเป็นหน้าที่ของผู้มีอำนาจในการลงมาจัดการอยู่แล้ว เพราะอย่างไรเสียลูกน้องก็ต้องฟังหัวหน้าอยู่แล้ว

สรุปปัญหาเพื่อนร่วมงานทะเลาะกัน วางตัวอย่างไรดี

บอกเลยว่าไม่ว่าใครที่ตกอยู่ในสถานการณ์แห่งความขัดแย้งของคน 2 คน ถือเป็นเรื่องที่ชวนอึดอัดและลำบากใจเป็นอย่างมาก แล้วยิ่งถ้าทั้ง 2 คนเป็นเพื่อนสนิทของเราด้วยทั้งคู่แล้วล่ะก็ ยิ่งต้องลำบากใจแบบทวีคูณแน่นอน แต่อย่างไรเสีย ปัญหานี้ก็ต้องมีวันจบ เพราะการทำงานก็ยังต้องดำเนินต่อไป แต่หากฝืนทำงานต่อไปภายใต้ความขัดแย้ง ย่อมส่งผลให้เนื้องานมีปัญหาแน่นอน ดังนั้นถ้ามีโอกาสช่วยแก้ปัญหานี้ ก็ควรที่จะทำ แต่ต้องลงมือด้วยสติที่สูงที่สุด เพราะเป็นเรื่องละเอียดเสียเหลือเกิน แต่ถ้าหากคุณช่วยแก้ปัญหานี้ได้ รับรองว่าหากต้องเจอปัญหาที่ใหญ่กว่านี้ ก็ไม่มีหวั่นแน่นอน

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS และ Android

JobsDB Mobile App

เลือกงานที่ใช่ ใช้ชีวิตที่ชอบ ด้วยการค้นหางานที่ง่ายและรวดเร็ว พร้อมทั้งจัดการเรซูเม่อย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุณอัปโหลด ดู และลบได้ทุกเมื่อที่ต้องการ เพลิดเพลินไปกับประสบการณ์การใช้งานแสนง่าย ด้วยระบบ AI ใหม่ ช่วยค้นหางานที่ตรงใจมากขึ้นถึง 6 เท่า​

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/

https://th.jobsdb.com/th-th/articles/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด