7 วิธีการดำเนินการตัดสินใจ

7 วิธีการดำเนินการตัดสินใจ
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

7 วิธีการดำเนินการตัดสินใจเป็นชุดขั้นตอนสำหรับการตัดสินใจ เพื่อแก้ปัญหาการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีความชอบธรรม ของการตกลงเห็นพ้องของกลุ่มโดยให้ทุกคนเข้ามามีบทบาท ซึ่งหมายถึงต้องกำหนดวิธีการตัดสินใจขึ้นมา

1. คาร์พูล (Car-pool)

รู้จักกันในแง่ของการตัดสินใจเป็นเอกฉันท์ วิธีนี้มีลักษณะของการขอข้อมูลความคิดเห็นจากทุกคน แล้วทำให้ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน อย่างไรก็ตาม การจะได้รับความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์นั้น ต้องแลกมาด้วยความคิดเห็นของทุกคนถูกกลบกลืน ผนวกรวมความคิดเห็น คัดค้านทั้งหมด ซึ่งตามธรรมดาแล้วความเห็นเป็นเอกฉันท์มักจะมีการประนีประนอมผ่อนปรน ทั้งนี้ กว่าจะมีการตัดสินเป็นเอกฉันท์ ก็ต้องใช้เวลานานพอสมควร

2. บาย-อิน (Buy-in)

เป็นที่รู้จักกันในนามของผู้มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจ โดยมีการปรึกษาหารือ วิธีก็คือ ผู้นำตัดสินใจภายหลังมีการปรึกษาหารือร่วมกัน กับสมาชิกคนอื่น ๆ ของทีม และขอความคิดเห็นของคนเหล่านั้นแล้ว ภายหลังได้ยินได้ฟังมากพอจะสามารถตัดสินใจอย่างมีข้อมูลพอ อย่างไรก็ตาม คนที่จะเป็นผู้นำได้ ต้องสามารถยุติการปรึกษาหารือนั้น แล้วตัดสินใจออกมา จากนั้นก็กลับไปบอกให้สมาชิกทุกคนรู้ว่า ข้อมูลความเห็นต่างๆที่พวกเขาแสดงนั้น มีผลต่อการตัดสินใจอย่างไร

3. ทอป-ดาวน์ (Top-down)

เราจะรู้จักกันในอีกลักษณะหนึ่งว่า ผู้มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจโดยไม่มีการปรึกษาหารือ ซึ่งเป็นระบบปกครองโดยผู้มีอำนาจเพียงคนเดียว และเมื่อมีการตัดสินใจจากเบื้องบนในองค์กรแล้ว ก็จะกระจายการตัดสินใจนั้น ลงมาสู่พนักงานระดับล่าง ซึ่งจะมีทางเลือกอยู่แค่สองอย่าง คือ ยอมรับการตัดสินใจนี้ หรือไม่ก็ไม่มีการเสนอความคิดเห็นในการตัดสินใจนี้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้จะใช้ได้ผลดีในงานด้านบริหาร

4. โหวต-อัพ (Vote-up)

วิธีการตัดสินใจแบบโหวต-อัพนี้ จะใช้ได้ผลดีเมื่อไม่มีเวลาพอจะรอการตัดสินใจเป็นเอกฉันท์ หรือการตัดสินใจนั้นไม่สำคัญถึงขนาด ต้องเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ซึ่งทุกคนในทีมต้องเห็นด้วยกันทั้งหมด และการตัดสินใจนั้นไม่ได้สำคัญอย่างยิ่งต่อการนำแผนไปปฏิบัติ ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งนี้ วิธีก็มีจุดอ่อนเหมือนกันซึ่งอยู่ตรงที่ ทำให้เสียงส่วนน้อยไม่มีความสุข และในเวลาต่อมาเสียงส่วนน้อยนี้ ก็อาจพยายามโค่นล้มการตัดสินใจที่ออกไปแล้วให้คว่ำไป

5. อิน-กรุ๊ป (In-group)

วิธีนี้คือ มีกลุ่มย่อยในกลุ่มใหญ่ออกไปรวบรวมข้อมูล แล้วทำการเสนอแนะการตัดสินใจส่งกลับไปให้กลุ่มใหญ่กว่า พร้อมกับคาดหวังว่า กลุ่มใหญ่จะยอมรับข้อเสนอแนะนี้ โดยที่ระบบไม่เหมาะสมสำหรับการตัดสินใจแบบบาย-อิน และการผูกพันคนในวงกว้างให้มาตัดสินใจ ร่วมกัน จุดอ่อนของวิธีนี้ก็คือ มักจะมองข้ามปัญหาบางอย่างไปโดยไม่ได้แก้ไข ทำให้เกิดความขัดแย้งในกลุ่มขึ้น

6. เซ็นเตอร์-สทริป (Center-strip)

คือ วิธีการตัดสินใจแบบใช้มาตรฐานเฉลี่ย วิธีก็คือ คุณหาจุดกลางของไอเดียต่าง ๆ ทางสายกลางเป็นสายกลางเป็นคำตอบที่เหมาะที่สุดเสมอ แต่ตามปกตินั้น ผลที่ได้มักไม่ทำให้ใครมีความสุขเป็นพิเศษเลยแม้แต่คนเดียว หรือแม้แต่คนที่ยึดทางสายกลางที่สุดในกลุ่มก็ตาม เพรานี่คือ การเลือกที่จะส่งปัญหาตามมาอีกมากมาย

7. เอาต์ไซด์-รูล(Outside-rule)

ปัญหาการตัดสินใจ หรืออีกชื่อหนึ่งว่า การตัดสินใจโดยที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเป็นวิธีที่คุณไปจ้างใครสักคนจากภายนอกมาบอกสิ่งที่คุณเองก็รู้อยู่แล้ว แล้วก็เรียกเก็บเงินค่าคำแนะนำที่พวกเขาให้คุณ วิธีนี้จะใช้ได้ดีก็ต่อเมื่อคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่ปัญหามันอยู่ตรงที่ ถ้าตัวคุณเองไม่ใช่ ผู้เชี่ยวชาญแล้ว คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่ว่าจ้างเขาเป็นผู้เชี่ยวชาญจริง?

สุดท้ายนี้ 7 วิธีการที่เรานำเสนอคุณมา เราก็ให้คุณตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมสำหรับคุณ และทีมงานของคุณ แต่หากทีมงานของคุณ เป็นทีมด้านนำแผนไปปฏิบัติ แนะนำให้เลือกแบบผู้มีอำนาจสูงสุดตัดสินใจแบบใดแบบหนึ่งที่เรากล่าวไปเมื่อสักครู่ เพราะช่วยประหยัดเวลา

ที่มา : www.siamhrm.com

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด