โปสเตอร์โอลิมปิกเกมส์ สุดยอดไอเดียและดีไซน์

โปสเตอร์โอลิมปิกเกมส์ สุดยอดไอเดียและดีไซน์
Jobsdb ทีมเนื้อหาอัปเดตเมื่อ 07 July, 2023
Share

ปีนี้ 2008 ในเดือน 8 วันที่ 8 เป็นฤกษ์ดีที่ประเทศเจ้าภาพ กีฬาโอลิมปิก ฤดูร้อนอย่างสาธารณรัฐประชาชนจีนได้กำหนดการเริ่มต้นพิธีเปิดการแข่งขันขึ้นอย่างเป็นทางการ ท่ามกลางการต่อต้นจากบางชาติที่นำเอาประเด็นการเมืองเข้ามาปะปนกับการกีฬา เจ้าภาพในแต่ละครั้งต้องเตรียมตัวกันอย่างหนัก มีแผนงานเป็นระบบที่เยี่ยมยอด ตั้งแต่การเริ่มเสนอตัวเข้ารับการคัดเลือกให้เป็นเมื่อประเทศเจ้าภาพตั้งแต่ระบบสาธารณูปโภค ถนนหนทาง การขนส่ง ความปลอดภัย สนามกีฬาที่ใช้ในการแข่งขันต่างๆ ทั้งในร่ม กลางแจ้ง ตลอดจนการ ออกแบบ กราฟิกต่างๆ สัญลักษณ์ โปสเตอร์ในการรณรงค์สำหรับการเป็นเจ้าภาพก็ต้องมีการวางแผนไว้ มีการคัดสรรจากมืออาชีพในการออกแบบ เพราะสิ่งต่างๆ เหล่านี้บ่งบอกถึงมาตรฐานคุณภาพของประเทศ และที่สำคัญ กราฟิก ต่างๆ ทีใช้ในการสื่อสารให้ชาวโลกรับรู้ ส่วนใหญ่จะถ่ายทอดถึงตัวตนทางวัฒนธรรม และศิลปะของเจ้าภาพ

มาดูกันว่าโปสเตอร์โอลิมปิกในครั้งก่อนๆ เขาออกแบบกันอย่างไรจึงเข้าตากรรมการและถูกคัดเลือกให้ใช้ในการโปรโมตกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติอย่างโอลิมปิกเกมส์

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 1 วันที่ 6-15 เมษายน 1896 จัดที่ Athens, Greece : ใช้ภาพพิมพ์แบบโทนสีโทนเดียวสื่อผ่านผู้หญิงกรีกที่ถือช่อมะกอก รางวัลของโอลิมปิกแบบโบราณ และ สถาปัตยกรรม แบบกรีก

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 2 ปี 1900 จัดที่ Paris, France : ใช้ภาพสื่อผ่านนักกำฬาฟันดาบสตรี

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 3 วันที่ 1 กรกฎาคม-23 พฤศจิการยน 1904 จัดที่ Saint Louis, USA : ภาพแนวอาร์ตนูโว สื่อผ่านภาพเมืองใหม่แบบมองจากมุมสูง

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 4 วันที่ 27 เมษายน–31 ตุลาคม 1908 จัดที่ London, great Britain : ใช้ภาพนักกรีฑากระโดดสูงชาย ด้านหลังเป็นภาพของสนามโอลิมปิก

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 5 วันที่ 29 มิถุนายน–22 กรกฎาคม 1912 จัดที่ Stockholm, Sweden : ใช้ภาพกึ่งนู้ดนักกีฬาชายโบกธงชาติต่างๆ ที่สื่อถึงชัยชนะจากการเข้าร่วมแข่งขัน

โอลิมปิกครั้งที่ 6 ปี 1916 งดแข่งขันเพราะสงครามโลกครั้งที่ 1

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 7 เดือนสิงหาคม-กันยายน 1920 จัดที่ Antwerp, Belgium : ใช้ภาพนักกรีฑาขว้างจักรชายและฉากหลังเป็นหอคอยกลางเมือง Notre Dam และในครั้งนี้มีการอ่านคำปฏิญาณของนักกีฬาครั้งแรก

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 8 ปี 1924 จัดที่ Paris, France : ใช้ภาพนักกีฬาชายเปลือยท่อนบน มีฉากหลังเป็นสีธงชาติฝรั่งเศส

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 9 ปี 1928 จัดที่ Amsterdam, Netherlands : ใช้ภาพนักกีฬาชายถือช่อลอเรลที่เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะ ฉากหน้าเป็นสีธงชาติเนเธอร์แลนด์

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 10 วันที่ 30 กรกฎาคม - 14 สิงหาคม 1932 จัดที่ Los Angeles, USA : ใช้ภาพ “Youth of The World” ใช้ภาพหนุ่มนักกีฬาสมัยใหม่ชูช่อลอเรลแห่งสันติสุข และการเรียกร้องให้ยุติการสู้รบกัน

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 11 วันที่ 1 - 16 สิงหาคม 1936 จัดที่ Berlin, Germany : ใช้ภาพนักกีฬาชายสวมช่อมะกอก ฉากหน้าเป็นภาพประติมากรรมของรถม้าศึก ลากด้วยม้า 4 ตัวบนประตูของเมืองที่มีชื่อว่า Brandenburg gate ที่เป็นการคัดสรรจากการประกวดจนได้งานออกแบบของ Mr.Werbel

โอลิมปิกครั้งที่ 12-13 ปี 1940/1944 งดแข่งขันเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 14 วันที่ 29 กรกฎาคม - 14 สิงหาคม 1948 จัดที่ London, great Britain: ใช้ภาพนักกรีฑาขว้างจักรชายและฉากหลังเป็นหอคอยนาฬิกากลางเมือง BigBen

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 15 วันที่ 19 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 1952 จัดที่ Helsinki, Finland : ใช้ภาพนักกรีฑาชาย Paavo Nurmi และฉากหลังเป็นแผนที่ประเทศฟินแลนด์บนแผนที่โลก ซึ่งภาพนี้นำเอาโปสเตอร์ที่ออกแบบไว้ใช้ในปี 1940 แต่ถูกยกเลิกเพราะสงครามโลกครั้งที่ 2 มาปรับปรุงใหม่เปลี่ยนเวลาใหม่

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 16 วันที่ 22 พฤศจิการยน - 8 ธันวาคม 1956 จัดที่ Melbourne, Australia : ภาพเป็นแนวโมเดิร์นเรียบง่าย เป็นแผ่นการ์ดเชิญ 3 พับ มีสัญลักษณ์โอลิมปิกและเมืองเมลเบิร์น เป็นครั้งแรกที่ไทยเราส่งนักกรีฑาและทีมฟุตบอลเข้าร่วมแข่งขัน

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 17 วันที่ 25 สิงหาคม - 11 กันยายน 1960 จัดที่ Rome, Italy : ใช้ภาพเสาโรมันเป็นโครงพร้อมกับแม่หมาป่ากำลังให้นมแก่ Romulus and Remus ผู้สร้างกรุงโรม

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 18 วันที่ 10-24 ตุลาคม 1964 จัดที่ Tokyo, Japan : ใช้ภาพพื้นธงชาติญี่ปุ่น เพิ่มสัญลักษณ์โอลิมปิกด้านล่าง ออกแบบโดย Yusaku Kamekura ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ชาติในเอเชียได้รับเป็นเจ้าภาพ

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 19 วันที่ 12-27 ตุลาคม 1968 จัดที่ Mexico : ใช้ภาพลวดลายพื้นเมือง Huichole Indians ของเม็กซิโกผสมกับอักษร Mexico

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 20 วันที่ 26 สิงหาคม-10 กันยายน 1972 จัดที่ Munich, Germany : ภาพแนวภาพพิมพ์ที่สื่อผ่านสถาปัตยกรรมของสนามกีฬาโอลิมปิกที่มิวนิค

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 21 วันที่ 17 กรกฎาคม-1 สิงหาคม 1976 จัดที่ Montreal, Canada : ใช้สัญลักษณ์โอลิมปิก 5 ห่วง มาทำเป็นภาพเคลื่อนไหวครั้งแรกที่นักกีฬาไทยได้รับเหรียญรางวัล

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 22 วันที่ 19 กรกฎาคม-3 สิงหาคม 1980 จัดที่ Moscow, Soviet : ภาพโอลิมปิกดาวแดง ใช้เส้นสายที่ดูเหมือนลู่วิ่งแข่งขัน แต่สามารถสื่อถึงสถาปัตยกรรมในแนวโพสต์โมเดิร์นแบบโซเวียตเลนินพร้อมดาวแดงด้านบน ครั้งนี้ทีมสหรัฐฯ และบางชาติตะวันตกในยุโรปบอยคอตการแข่งขัน

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 23 วันที่ 28 กรกฎาคม-12 สิงหาคม 1984 จัดที่ Los Angeles, USA : สโลแกน “Star Games” ใช้ภาพดาวเคลื่อนไหว แทรกด้วยภาพต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับไลฟ์สไตล์ของสหรัฐฯ

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 24 วันที่ 17 กันยายน-2 ตุลาคม 1988 จัดที่ Seoul, South Korea : “Harmony and Progress” ใช้ภาพนักกีฬาชายถือคบเพลิง ฉากหลังเป็นประกายของแสงที่สะท้อนออกจากห่วงโอลิมปิกทั้ง 5

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 25 วันที่ 25 กรกฎาคม-9 สิงหาคม 1992 จัดที่ Bacelona, Spain : งานของมีโร (Jean Miro) ที่สื่อผ่านสัญลักษณ์นักกีฬาสเปน (สีธงชาติ)

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 26 วันที่ 19 กรกฎาคม-4 สิงหาคม 1996 จัดที่ Atlanta, USA : “The Look of the Games” ออกแบบโดย Primo Angeli ใช้ภาพเงาของนักกีฬาพร้มดาวสัญลักษณ์ในครั้งนี้ และสีของโอลิมปิกทั้ง 5 สี เป็นครั้งแรกที่นักกีฬาไทยได้รับเหรียญทอง

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 27 วันที่ 15 กันยายน-1 ตุลาคม 2000 จัดที่ Sydney, Australia : ภาพกราฟิกของนักกีฬาที่ใช้บูมเมอแรงเป็นขา และฉากหลังเป็นเงาของนักกีฬาและด้านล่างเป็นภาพของอาคารโรงละครซิดนีย์โอเปร่า

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 28 วันที่ 13-29 สิงหาคม 2004 จัดที่ Athens, Greece: ภาพช่อมะกอกประกอบกับสีสันของธงชาติกรีขาวฟ้า

ดีไซน์โปสเตอร์

โอลิมปิกครั้งที่ 29 วันที่ 8-24 สิงหาคม 2008 จัดที่ Beijing, China: ภาพปักกิ่งเริงระบำ เน้นเทคนิคการเขียนด้วยพู่กันจีนให้เป็นสัญลักษณ์รูปร่างคน ผ่านการนำรูปแบบตราประทับอันเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์จีนกว่าหลายพันปีมาใช้

สุดยอดทั้งนั้นเลยใช่ไหมคะ ไอเดียการออกแบบโปสเตอร์ของแต่ละประเทศที่สะท้อนตัวตน และความรู้สึกนึกคิดของประเทศเจ้าภาพได้อย่างน่าประทับใจ

ที่มา : นิตยสาร idesign

เรียกดูคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

ทราบหรือไม่ว่ามีผู้สมัครจำนวนเท่าไหร่ที่เตรียมเรซูเม่ที่หาข้อมูลเกี่ยวกับอุตสาหกรรมของตนโดยการสำรวจด้วยคำค้นหาที่ได้รับความนิยม

สมัครรับคำแนะนำด้านอาชีพ

รับคำปรึกษาด้านอาชีพจากผู้เชี่ยวชาญส่งตรงถึงอินบ็อกซ์ของคุณ
เพียงคลิก 'สมัครสมาชิก' เพื่อยอมรับ คำชี้แจงสิทธิ์ส่วนบุคคลของ Jobsdb โดยคุณสามารถยกเลิกอีเมลเมื่อใดก็ได้
สงวนลิขสิทธิ์ 1998-2024 โดย บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) จำกัด